กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านไทรพอน อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุงประจำปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านไทรพอน อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุงประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน

หมู่ 6 ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มขึ้นและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัว และสังคม จากการศึกษาแนวการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่าปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มที่ไม่สมดุล การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล รวมทั้งการมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคติดต่อเหล่านั้นในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 103,291 คน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยพบว่ากว่าร้อยละ 30 เป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอายุ 60 ปี ทั้งนี้มีผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 2,600,000 ครั้งต่อปี หรือ สูงถึง 7,300 ครั้งต่อวัน และเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าภายใน 5 ปีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอนมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน70 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 7,201.64 ต่อแสนประชากรและผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,131.68 ต่อแสนประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอนปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 6 ราย โรคเบาหวานจำนวน 5 ราย ขณะเดียวกันมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นของโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็น 589.76 และ184.30 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นหากไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไข อย่างเร่งด่วน
ซึ่งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมักไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าอาการดีแล้ว หรือหายจากโรคแล้วและผู้ป่วยอาจไม่ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในการควบคุมโรคที่ถูกต้อง ประกอบกับแพทย์/พยาบาล ตรวจวัดความดันโลหิต/ระดับน้ำตาลในเลือด และผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับปกติแล้ว ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตนเองมีสุขภาพดี หรือหายจากโรค จึงขาดการติดตาม การรักษาที่ต่อเนื่อง หยุดการรักษา หยุดรับประทานยา และมาพบแพทย์อีกครั้งเมื่อมีอาการหรือโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่เรื้อรัง ส่งผลถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ของครอบครัว และสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนอกจากนี้ การดำเนินงานตามโครงการในครั้งนี้ยังเป็นการพัฒนารูปแบบการป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยดูแลตั้งแต่ประชาชนที่ยังไม่เป็นโรค ดูแลประชากร กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง และดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้ว โดยอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชนในพื้นที่ อสม. ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชน ผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ได้เกิดการเรียนรู้ มีความตระหนัก และมีประสบการณ์โดยตรงในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัญหาของชุมชนของตนเอง และร่วมพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมกับพื้นที่
ดังนั้น เพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่แฝงอยู่ในชุมชน และเป็นการป้องกันและลดปัญหาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน ได้เห็นความสำคัญของการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะ 2 โรคดังกล่าว จึงให้มีการดำเนินงาน“เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังแบบบูรณาการ (Home Visit & Home Health Care) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน” เพื่อให้เกิดโครงการที่ยั่งยืนและลดอัตราป่วยและภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิต ซึ่งจะยังผลให้มีระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่สูงขึ้นอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วย/กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลต่อเนื่อง
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลต่อเนื่อง มากกว่า

ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

-  ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50   - ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

0.00
3 เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงจากปีที่ผ่าน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,065
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูล ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ในพื้นที่ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูล ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ในพื้นที่ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง - ค่าเครื่่องวัดความดันจำนวน2เครื่อง ๆล่ะ 4,500บาท เป็นเงิน 9,000 บาท - ค่าจัดซื้อเซ็ต และอุปกรณ์ทำแผลที่บ้าน จำนวน 25 ชุด ชุดละ 700 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท - ค่าจัดซื้อ เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 3 เครื่อง เครื่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29500.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่จิตอาสาดูแลผู้ป่วยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่จิตอาสาดูแลผู้ป่วยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เบื้องต้นแก่จิตอาสาดูแลผู้ป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมติดตาม เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมติดตาม เฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค้นหาและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่จะนำไปสู่ความพิการได้ สามารถประกอบอาชีพ และสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามอัตภาพ
2. อัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
3. หน่วยบริการมีการพัฒนาคุณภาพบริการ(NCD. คุณภาพ) ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน


>