กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

นางปานิมาส รุยัน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

หมู่ที่ 2, 3, 4 , 5 ,6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ที่ได้รับการตรวจพัฒนาการมีผลการตรวจพบพัฒนาการไม่สมวัย

 

34.31
2 ร้อยละของเด็กแรกเกิด - 6 เดือนที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว

 

47.62

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดทั้งจากร่างกายของเด็ก และสภาพแวดล้อมภายนอก เด็กที่ไม่ได้รับการแก้ไขพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่แรกจะเป็นภาระต่อสังคมในระยะยาวต่อไปด้วย จากการสุ่มสำรวจสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2560พบว่า 1 ใน 4 ของเด็กทุกช่วงวัยมีพัฒนาการสงสัยว่าล่าช้า โดยเฉพาะพัฒนาการด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสติปัญญา และพบว่า เด็กอายุ 0-6 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่า ร้อยละ 30 จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0-6ปี เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ 4.51 ซึ่งร้อยละ 3.44 เป็นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก 0-6 ปี กว่าร้อยละ80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ในปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายมีเด็กอยู่ในช่วงอายุ 9 เดือน – 5 ปี ที่ต้องได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการ จำนวน 133 คน ได้รับการประเมินคัดกรองพัฒนาการแล้ว จำนวน 102 คน (ร้อยละ 76.69) พบว่า มีพัฒนาการไม่สมวัย ร้อยละ 34.31 เด็กทุกคนที่มีพัฒนาการไม่สมวัยต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านนั้นและติดตามประเมินฯซ้ำ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายเห็นความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพราะหากเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย หรือไม่ได้รับการส่งเสริมจะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของเด็กและปัญหาของครอบครัวในอนาคต จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และพัฒนาการลูกน้อยสมวัย ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการและพัฒนาการสมวัย

ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการ และพัฒนาการสมวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

70.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80

65.69 80.00
3 เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

เด็กทุกคนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

29.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
สำรวจปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กลุ่มเป้าหมายทำแบบสอบถามปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก (ปัจจัยส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อม) (ไม่ใช้งบประมาณ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองเด็กทุกคนตอบแบบสำรวจและได้ข้อมูลปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก (ปัจจัยส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อม)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการ และพัฒนาการสมวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณีการยังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณีการยังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน750 บาท
  • ชุดตรวจและอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,350.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- รพ.สต.บ้านโคกชะงายมีข้อมูลปัจจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเพื่อใช้แก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
- ผู้ปกครองทุกคนมีความรู้โภชนาการ และพัฒนาการสมวัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
- เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
- เด็กทุกคนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการซ้ำและส่งต่อ (กรณียังไม่ผ่านเกณฑ์พัฒนาการตามวัย)


>