กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์การล้างมือในโรงเรียนตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การล้างมือในโรงเรียนตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางวรรณะวิเชียรรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
2. นางจิรา เดิมไชยพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ห้องประชุมราชพฤกษ์อาคารอุบัติเหตุ – ฉุกเฉินชั้น 4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. จำนวนโรงเรียนและสถานบริการสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการ

 

9.00
2 1. ร้อยละของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมการล้างมือและมีความต่อเนื่อง

 

80.00

การล้างมือเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ลงทุนน้อย และได้ผลตอบแทนมาก ในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อที่ผ่านทางมือ ก็คือ “การล้างมือ” จากการวิจัยทางการแพทย์ ค้นพบมานานกว่า 150 ปีแล้วว่า การล้างมือของแพทย์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล นอกจากนี้การล้างมือบ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัส เช่น ตาแดงจากสถานการณ์ที่มีการระบาดของ โรค COVID-19 พบว่าการล้างมือเป็นปัจจัยสำคัญที่ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้รวมถึงการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินอาหารได้เช่นกัน
แต่ปัญหาที่พบคือ คนทั่วไปไม่ค่อยได้สนใจและไม่ให้ความสำคัญเรื่องการล้างมือในปี 2562 มีการดำเนินการจัดทำโครงการรณรงค์การล้างมือในโรงเรียน และมีการประกวดโรงเรียนต้นแบบ เรื่องการล้างมือรวม 8 แห่ง จากการเฝ้าระวังพบว่าไม่เกิดการระบาดของโรคตาแดง โรคสุกใส หรือโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการไม่ล้างมือในโรงเรียน ทั้ง 8 แห่ง
ในการนี้งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้มีการส่งเสริมการล้างมือจนเกิดเป็นวัฒนธรรรมสามารถป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากการสัมผัสได้และป้องกันการเกิดการระบาดได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของการล้างมือ

จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

8.00 8.00
2 ไม่เกิดการเจ็บป่วยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยการล้างมือ

จำนวนครั้งการระบาดของโรค

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักเรียน ครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 300

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมตัวแทนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมตัวแทนโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ออกหนังสือเชิญตัวแทนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  2. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดและกิจกรรม
    3.กำหนดวันและสถานที่ให้ความรู้ และเดินรณรงค์
    4.สรุปโครงการ
    งบประมาณ       ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 1มื้อ x 2ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 2.ให้ความรู้เรื่องการล้างมือและเดินรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
2.ให้ความรู้เรื่องการล้างมือและเดินรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กำหนดสถานที่ให้ความรู้และกิจกรรมเดินรณรงค์
2.ประสานวิทยากรวิทยากรกลู่ม และผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.กำหนดรูปแบบกิจกรรมและจัดเตรียมเอกสารและเตรียมอุปกรณ์ในการให้ความรู้ 4.จัดเตรียมสถานที่ เรื่องการให้ความรู้ 5.จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ เรื่องความสำคัญของการล้างมือ ในเขต ตำบลสุไหงโก-ลก
งบประม่าณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 300 คนx 25 บาทx 2 มื้อx 1ครั้งเป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 300 คนx 50 บาทx 1 มื้อx 1ครั้งเป็นเงิน 15,000 บาท
- ค่าวัสดุ ที่ใช้ในโครงการ ได้แก่ สมุด ปากกา แฟ็ม และอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการล้างมือ เป็นเงิน6,000บาท
- เงินสนับสนุนในการร่วมเดินรณรงค์ 2,500บาท x 9 แห่ง เป็นเงิน22,500 บาท
-ค่าวงดุริยางค์ เป็นเงิน 2,500บาท
- ค่าตกแต่งสถานที่ เป็นเงิน 2,000 บาท
กำหนดการโครงการรณรงค์การล้างมือในโรงเรียน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก เดือน กุมภาพันธ์ –กันยายน 2562 ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินชั้น 4 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ……………………………………………………………….


เวลา
07.00 - 07.30น. ลงทะเบียน
07.30 -09.00น. เดินรณรงค์ในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก
09.00 – 09. 30 น. พิธีเปิด
โดย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก หรือรักษาการแทน
09.30 - 10.00น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.00 - 11.00น. ความรู้เรื่อง โรคที่ติดต่อมากับมือ โดย นพ. กรุณา ชวเลิศสกุล 11.00 – 12.00น. ความรู้เรื่อง ประโยชน์และขั้นตอนการล้างมือ โดย พว.จิราเดิมไชย 12.00 - 13.00น พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 - 14 .30 น. กิจกรรมกลุ่ม เรื่อง การฝึกปฏิบัติการล้างมือ 7 ขั้นตอน โดย วิทยากรกลุ่ม
14.30 - 15.00น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
16.00 - 16.30น กิจกรรมกลุ่ม เรื่อง การฝึกปฏิบัติการล้างมือ 7 ขั้นตอน (ต่อ) โดย วิทยากรกลุ่ม
ปิดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ = 8โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63000.00

กิจกรรมที่ 3 2.การประกวดโรงเรียนต้นแบบ เรื่องการสร้างวัฒนธรรมการล้างมือแบบยั่งยืน

ชื่อกิจกรรม
2.การประกวดโรงเรียนต้นแบบ เรื่องการสร้างวัฒนธรรมการล้างมือแบบยั่งยืน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมทีมคณะกรรมการเพื่อจัดทำแนวทางและแบบประเมิน
2.ชี้แจงให้กับโรงเรียน และสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการ 3.กำหนดระยะเวลาการลงประเมิน
4.สรุปผลการประเมิน
5.ออกใบประกาศ
งบประมาณ
1.ประชุมทีม
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 3 ครั้ง เป็นเงิน 1875 บาท
2.ลงประเมินโรงเรียน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม6 คน x 25 บาท x 12 มื้อเป็นเงิน 1800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน6 คน x 50 บาท x 5มื้อ เป็นเงิน1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนโรงเรียนที่เป็นต้นแบบเรื่องการสร้างวัฒนธรรมการล้างมือแบบยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,975.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในโรงเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัยการล้างมือและเกิดความวัฒนธรรม
2. ไม่เกิดความเจ็บป่วยจากโรคติดต่อ
3.มีเครือข่ายในเรื่องการดูแลสุขภาพ


>