กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

1 นายอดิศักดิ์ กาสา
2 นางลาตียา มะหมาด
3 นางฮาหวา ตะฮาวัน
4 นางสาวฮามีส๊ะ ยาหนา
5 นางสริญญา สตอหลง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียนเนื่องจากผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญและเร่งรีบไปทำงาน

 

63.00

การพัฒนาชาติที่สำคัญคือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีศักยภาพสูงอันเป็นปัจจัยหลัก ในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญยา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบเป็นช่วงสมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมอื่นๆได้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้ คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรร์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น วัย 5 ขวบแรกจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบุูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการเจริญของร่างกาย เมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบิกบาน พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ อาหารเช้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจากการสอบถามและสังเกตุจากเด็กนักเรียนทั้งหมด ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์มาโรงเรียน และ จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กเพราะการที่นักเรียนไดรับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิและสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้กว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจะทำให้เด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้น อาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบชองผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัยเนื่องจากขาดอาหารสำคัยมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองใส เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริยเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน (คน)

10.00 5.00
2 เพิ่มการกิน อาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กินอาหารเช้าอย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

10.00 10.00
3 คณะครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัยเด็ก

ผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด มีความรู้ความเข้าใจ อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทดสอบ

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 24/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรม ศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ประเมินภาวะโภชนาการในเด็กโดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง บันทึกผลลงสมุด จัดอบรมให้ความรู้ คณะครู ผู้ปกครอง เรื่องอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนการดำเนินงานตามกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมครู อบรมให้ความรู้ครู ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมครู อบรมให้ความรู้ครู ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ
1 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดพร้อมเสนอเมนูอาหารเช้าที่มีประโยชน์แก่นักเรียน
2 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณ
3 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ขั้นสรุป
1 ประเมินน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ 2 ประเมินพัฒนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ 3 สรุป/ประเมินโครงการและรายงานผล ค่าใช้จ่าย 1 ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 1.5*2 *150 บาทเป็นเงิน 450 บาท
2 ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆละ 25 บาท จำนวน 80 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท
4 ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้ จำนวน 68 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 2,380 บาท
กำหนดการอบรมให้ความรู้
08.00 น ลงทะเบียน
08.30 น เปิดการอบรม โดยนายกูดานัน หลังจิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
09.00 น บรรยายเรื่องอาหารที่จำเป็นและสำคัญต่อโภชนาการที่สมวัย โดย นางสุกัญญา ลัสมาน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
10.30 น รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 น บรรยาย (ต่อ)
12.15 น ปิดพิธี
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2564 ถึง 29 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและครู ได้รับความรู้ และเมนูอาหารเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6630.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเช้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.จัดทำอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส ทุกวันทำการ เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 10 คนๆละ 16 บาท จำนวน 140 วันทำการ เป็นเงิน 22,400 บาท โดยเมนูประจำสัปดาห์หมุนเวียนกันไปในแต่ละเดือน ดังนี้
- วันจันทร์ / พุธ/ศุกร์ เมนูน้ำเต้าหู้ / โอวันตินร้อน /ขนมสด
- วันอังคาร/พฤหัสบดี เมนู ข้าวต้ม สลับปลา ไก่ กุ้ง เนื้อ
- จัดยาถ่ายพยาธิให้แก่เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 3 วัน ติดต่อกัน
- ยาถ่ายพยาธิ ซองละ 40 บาท จำนวน 3 ซองต่อคน จำนวน 10 คน เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับสารอารหารเหมาะสมตามช่วงวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,230.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลียกัน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย
3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด้กเล้กบ้านกาเด๊ะ มีพัฒนาการสมวัย
4.นักเรียนในสูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง
5.ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย


>