กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ตำบลบ้านควน

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา
2.นางวัชรี บินสอาด
3.นางสุพิชชาหมาดสกุล
4.น.ส.โสภิตรา นารีเปน
5.น.ส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี

หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งวิมาน หมู่ที่ 3 บ้านโคกทรายหมู่ที่ 5 บ้านควนหมู่ที่ 6 บ้านกาลูบีหมู่ที่ 7 บ้านลูโบ๊ะการายี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพประจำปี ไม่ผ่านเกณฑ์

 

89.78
2 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการติดตามภาวะสุขภาพไม่ต่อเนื่องครบตามเกณฑ์

 

90.00

1. หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและอาจสูญเสียอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ตา เท้า ไต และหัวใจ สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม และสาเหตุหลักคือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียดการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
จากข้อมูลสถิติกองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560ถึง 2562 อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรระดับประเทศ มีดังนี้ 1.ร้อยละ2,091.282.ร้อยละ2,245.09และ 3. ร้อยละ 2,388.84ตามลำดับและข้อมูลอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากรมีดังนี้ 1. ร้อยละ 1,344.952.ร้อยละ 1,439.04 และ 3. ร้อยละ 1,528.91 ตามลำดับ
จากข้อมูลข้างต้นพบว่าอัตราผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานต่อแสนประชากรมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีจากข้อมูลสถิติกองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ.2560ถึง 2562อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรระดับจังหวัดสตูล มีดังนี้ 1.ร้อยละ1,376.882.ร้อยละ 1,601.81และ 3. ร้อยละ 1,648.41ตามลำดับและข้อมูลอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากรมีดังนี้ 1. ร้อยละ 852.972.ร้อยละ 1,005.51 และ 3. ร้อยละ 1,004.14 ตามลำดับจากข้อมูลข้างต้นพบว่าอัตราผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานต่อแสนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลที่ได้จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2562 – 2563 ของ รพ.สต.ตำบลบ้านควน พบกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1.จำนวน161คนคิดเป็นร้อยละ 10.50 2. จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 6.69ตามลำดับกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1. จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ5.22 และ2. จำนวน91คนคิดเป็นร้อยละ 5.80 ตามลำดับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 1.จำนวน 62 คนคิดเป็นร้อยละ 3.35และ 2. จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 4.68 ตามลำดับกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน1.จำนวน18คน คิดเป็นร้อยละ 0.97 และ 2. จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 1.23 ตามลำดับจากข้อมูลข้างต้นพบว่ากลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น รพ.สต.ตำบลบ้านควนจึงจัดทำโครงการคัดกรองค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2564เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงดูแลให้ได้รับความรู้3อ.2ส. และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวให้แกนนำสุขภาพในชุมชนติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ และกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่รพ.สต. เพื่อพิจารณาส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคโดยเร็วได้รับการติดตามภาวะสุขภาพ รักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถประเมินและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องมีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องเหมาะสมตามวิถีชีวิตของชุมชนบ้านควน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 95  ของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

89.78 95.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ส่งต่อให้ได้รับวินิจฉัยเร็วที่สุด

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ ได้รับการส่งต่อเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์

0.00 100.00
3 เพื่อติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย

0.76 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป 2,425

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ให้บริการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ติดตาม จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ให้บริการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ติดตาม จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชาสัมพันธ์โครงการและเผยแพร่ในเรื่องการตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว /วัดความดันโลหิต ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อเป็นการตรวจค้นหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
-จัดทำเอกสารคัดกรองสุขภาพแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกวิเคราะห์ผลการคัดกรอง
-ออกตรวจคัดกรองสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก/วัดรอบเอว/คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยการซักประวัติตามแบบคัดกรอง
-จัดทำทะเบียน โดยแยกกลุ่มที่ได้จากการคัดกรอง เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่ต้องส่งต่อ
-บันทึกผลการตรวจคัดกรองในโปรแกรม JHCIS เพื่อส่ง สปสช.
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แกนนำ อสม.ออกตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพในชุมชน จำนวน 92 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเวลา 3 วัน เป็นเงิน 6,900 บาท
2.ค่าเอกสารที่ใช้ในการคัดกรอง(แบบสัมภาษณ์)จำนวน 2,425แผ่นเป็นเงิน970บาท
3.ค่าเอกสารบันทึกวิเคราะห์ผลการคัดกรองโรคเรื้อรังจำนวน 500แผ่นเป็นเงิน200บาท
รวมกิจกรรมที่ 1เป็นเงิน 8,070บาท ( เงินแปดพันเจ็ดสิบบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 95 ของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8070.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง คนละ 1 ครั้ง โดยแบ่งกลุ่มทำ 3 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง คนละ 1 ครั้ง โดยแบ่งกลุ่มทำ 3 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ชั่งน้ำหนัก / วัดรอบเอว /วัดความดันโลหิต การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด / การแปลผลพร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เรื่อง 3อ2ส ซึ่งจะมีการติดตามภาวะสุขภาพคนละ 1 ครั้ง โดยแบ่งทำกิจกรรม 3 วัน และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวลงสู่ชุมชนมีการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำ อสม.ตำบลบ้านควนต่อไป
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง จำนวน 150 คนๆละ 25 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 3,750 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม.จำนวน 92 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,300 บาท
3. ค่าชุดตรวจเบาหวาน จำนวน 150 ชุดๆละ 20 บาทเป็นเงิน3,000 บาท
4. ค่าสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง จำนวน 150 เล่มๆละ 50บาท เป็นเงิน 7,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ ได้รับการส่งต่อเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,620.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทุกคน
2.ผู้ป่วยรายใหม่ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
3.กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้รับการติดตามภาวะสุขภาพ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงไม่กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่


>