กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือนศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ2

กัณณิกา น้อยน้ำเที่ยง เบอร์โทร 089-468-6832
นอร์ฮายาตี แวหะมะ เบอร์โทร 081-543-3101

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด-72 เดือน

 

90.00
2 อัตราเด็ก 0-72 เดือน มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนมากกว่า

 

54.00
3 อัตราเด็ก 0-72 เดือนมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์น้อยกว่า

 

7.00
4 ร้อยละเด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุมากกว่า

 

90.00
5 ร้อยละเด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุมากกว่า

 

90.00
6 ร้อยละเด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุมากกว่า

 

90.00
7 ร้อยละเด็กอายุครบ 4 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุมากกว่า

 

90.00

การพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต้องพัฒนาส่งเสริมเด็กอายุ 0-72 เดือน ให้มีสูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายโภชนาการและนโยบายดื่มนมแห่งชาติ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กด้านสุขภาพช่องปากและโภชนาการโดยใช้กลไกลเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กอายุ 0-72 เดือน ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ในปี 2563 พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 6.28 เด็กอายุ 0-72 เดือน สูงดีสมส่วนร้อยละ 45.07 เด็กที่มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 98.00 อัตราความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุมกันโรคร้อยละ 90.44 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย ซึ่งเด็กปฐมวัย (อายุ 0-72เดือน) เป็นวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมากทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อวัยวะที่เจริญมากที่สุดในระยะนี้คือสมองและเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งผลเสียจากการขาดสารอาหารนั้น เด็กจะมีการพัฒนาการสมองได้น้อย สติปัญญาต่ำ การเรียนรู้ช้า มักพบว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีปัญหาขาดสารอาหารมากกว่าวัยอื่นๆ และเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้น จึงได้มีระบบการเฝ้าระวังภาวะขาดสารอาหาร โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของเด็ก เพื่อติดตามและการวางแผนแก้ไขการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้รู้สถานการณ์และดำเนินการส่งเสริมภาวะโภชนาการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ โดยเน้นการติดตามเป็นรายบุคคลในการเฝ้าระวัง จากข้อมูลดังกล่าวนี้ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ได้มีการดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการติดตามงานและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขแกนนำแม่และเด็กและสร้างภาคีเครือข่ายในชุมชนให้สามารถช่วยเหลือดูแลสมาชิกในชุมชนได้ ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ในปี 2564 ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จึงดำเนินการแก้ไขในภาพรวมครอบคลุมทุกชุมชนในเขตรับผิดชอบทุกชุมชนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากที่สุด โดยบูรณาการกับภาคีเครือข่ายและภาคประชาชนให้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง

ร้อยละของเด็กอายุ 0-72 เดือน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง

0.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มอัตราความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีน

ร้อยละของอัตราความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น

0.00 95.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีทักษะการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง

ร้อยลของผู้ปกครองมีความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองและเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็ก 0-72 เดือน ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือนและอสม. จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่บุตรน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์/อาสาสมัครสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กในชุมชน จำนวน 60 คน ระยะ เวลา 1 วัน
2. สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและสุขภาพปากและฟัน ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
3. ติดตาม/ประเมินหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการทุก 1 เดือน
กำหนดการการอบรม ดังนี้
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 11.00 น. ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก 0-72 เดือนและการดูแลและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน
11.00 – 12.00 น. ให้ความรู้ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน (นางสาวฝนทิพย์ พันธ์โภชน์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข)
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 น. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
15.00 – 16.00 น.จัดกิจกรรมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาวะโภชนาการในเด็ก/ช่องปากและฟัน(โดยทีม จนท.ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2)
หมายเหตุเวลา10.00 น. และ 14.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 1 มื้อ x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท X 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารเสริมสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (นมกล่องสำหรับเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป)
กล่องละ 10 บาท x 20 คน x 30 กล่อง/เดือน x 3 เดือน เป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องโภนาการที่เหมาะสมกับบุตรของตน
เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการติดตามดูแลและส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0-72 เดือน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ลดลง
2. มีความครอบคลุมในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ/พัฒนาการและการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-72 เดือนเพิ่มขึ้น
3. ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง


>