กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์จังหวัดสงขลา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแสจำนวน 40คน พบว่ามีปัญหาฟันน้ำนมผุเฉลี่ย คนละ3ซี่ซึ่งสาเหตุของการเกิดฟันผุเนื่องจากเด็กชอบรับประทานอาหารรสหวานอยู่เสมอ รวมทั้งผู้ปกครองขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟันของเด็กจึงทำให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุตามมา

การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เกล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรการตรวจสุขภาพช่องปาก , บริการทันตกรรม , การแปรงฟันที่ถูกวิธี , การดูแลรักษา และการติดตามประเมินผลจากโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้เฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแสนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแลแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีฟันผุไม่เกินร้อยละ 50

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00
3 . เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้เข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็กก่อนวัยเรียน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ทางทันตสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ทางทันตสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เตรียมการ
1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส

1.2 ศึกษาข้อมูลทางด้านครอบครัวที่มีผลต่อทันตสุขภาพของเด็ก

1.3 จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ

1.4 ขออนุมัติโครงการต่อสาธารณสุขอำเภอ

1.5 ประชุมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและคณะวิทยากรเพื่อเตรียมการและกำหนดกิจกรรม

ขั้นดำเนินการ
2.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการ

2.1ทำป้ายป้ายไวนิล

2.2เอกสารประกอบโครงการ

2.3โปสเตอร์เกี่ยวกับฟัน

3.ขั้นดำเนินการ

3.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ทางทันตสาธารณสุขและชี้แจงโครงการ แก่ผู้ปกครอง , แม่บ้านและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส
3.2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ปีละ 1 ครั้ง และส่งรักษาต่อในรายที่พบปัญหาเร่งด่วน

3.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการกองทุน

3.4 จัดให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุม

3.5 เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยนิเทศการดำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแสเดือนละ 1 ครั้ง 3.6 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ 1 ค่าอาหารกลางวัน 35 กล่อง กล่องละ50บาท= 1,750บาท

2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 ชุด ชุดละ25บาท= 875

3 ค่าวิทยากร 2คน คนละ300บาท= 600

4 ค่าป้ายไวนิล 1 แผ่น แผ่นละ432บาท= 432

5 ค่าเอกสาร 35 ชุด ชุดละ30บาท=1,050

6 ค่าโปสเตอร์เกี่ยวกับฟัน 10แผ่น แผ่นละ50บาท=500

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5207.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้เด็กแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กควบคุม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้เด็กแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กควบคุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้เด็กแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กควบคุม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจสุขภาพฟันเด็ก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพฟันเด็ก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจสุขภาพฟันเด็ก โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,207.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแลแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีฟันผุไม่เกินร้อยละ 50
2. เด็กผู้ปกครองและครูผู้แลเด็กตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน
3. เด็กผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาฟันของเด็กก่อนวัยเรียน
________________________________________


>