กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในชุมชนบ้านโคกทราย ปีงบประมาณ2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มรักษ์สุขภาพบ้านโคกทราย

1.นางสาวลีย๊ะ หลงโสะ
2.นางมาณี อารีมาน
3.นางเจ๊ะม๊ะ สะเด็น
4. นางสารีป๊ะ หลงกาสา
5.นางอาซีซ๊ะ อำมาตี

หมู่ที่ 3 บ้านโคกทราย ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากแบบแผนชีวิตมนุษย์ที่มีความเครียดมากขึ้นมีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้องการสูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกายสิ่งต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้เกิดโรคจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดความรุนแรงของโรคเกิดได้ทั้งตายอย่างฉับพลันและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควน อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้าเรามีความรู้ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรค
จากการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังติดตาม เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังข้อมูลต่อไปนี้ ข้อมูลย้อยหลัง ปี 2561 -2562 พบผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 และ 2 คน ตามลำดับ ผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานจำนวน 1 และ 1 คน ตามลำดับ อสม.หมู่ที่ 3 บ้านโคกทราย จึงได้จัดทำโครงการ ลดเสี่ยง ลดโรค ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2564 ขึ้น เพื่อดูแลและติดตามภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เบื้องต้นในการดูแล ประเมินสุขภาพของตนเองได้โดยเน้นหลัก3อ2ส และเพื่อการส่งต่อที่รวดเร็ว ได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและช่วยลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ การติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นที่กลุ่มเสี่ยงต้องได้รับเพื่อจะได้รู้เท่าทันสุขภาพตนเอง สามารดูแลป้องกันได้ทันท่วงที ส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันและโรคเบาหวานได้รับการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

70.00 100.00
2 การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง

ร้อยละกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันและโรคเบาหวานไม่กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 35
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองสุขภาพกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันดลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่ได้จากการคัดกรองสุขภาพ ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ส่งต่อจาก รพ.สต.ตำบลบ้านควนลงสู่ชุมชน เพื่อติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมมีดังนี้
- ชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง คำนวณค่า BMI
- วัดความดันโลหิตสูง
- เจาะเลือดปลายนิ้วมือเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย
- แปรผลการตรวจ
2.จัดกลุ่มทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย เจ้าหน้าที่รพ.สต.เป็นผู้ดำเนินการและตอบข้อสงสัย
- พูดคุยซักถามการดำเนินชีวิตประจำวัน พฤติกรรมสุขภาพรายบุคคล เพื่อค้นหา ข้อดี ข้อเสียรายบุคคล หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
- มี Good Model เข้ามามีส่วนร่วมเป็นแบบอย่างที่ดี พฤติกรรมสุขภาพที่ได้สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
รายละเอียดงบประมาณ
1.เครื่องเจาะ DTX จำนวน 2 เครื่อง ๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
2.เครื่องวัดความดัน จำนวน 2 เครื่องๆล ะ3,400 บาท เป็นเงิน 6,800 บาท
3.เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่องๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
4.สายวัด จำนวน 2 เส้นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 40 บาท
5.ค่าอาหารว่างกลุ่มเสี่ยง จำนวน 35 คนๆละ 25 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 2,625 บาท
6.ค่าอาหารว่างแกนนำ อสม. รณรงค์ จำนวน 15 คนๆละ 25 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19990.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,990.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องครบทุกราย
2.กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่กลายเป็นผู้ป่วยรายใหม่


>