กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูหน่วย First responder ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1.นายจรุงวิทย์ ปลื้มเปรมจิตร
2.นางสาวสุดานันท์แสงกาศนีย์
3.นางสาวมูนีรา ยูโซ๊ะ
4.นางสาวรุสนานี วานิ

ห้องมูลนิธิธารน้ำใจ สุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 บุคลากรผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น ผ่านการอนุมัติจาก อศป. สพฉ.รวม 70 คน ต้องมีการฟื้นฟูความรู้การแพทย์ฉุกเฉินทุกปี

 

70.00

การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนการนำส่งไปยังสถานพยาบาล เป็นระยะที่สำคัญเพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็น "Golden Hour" ของการรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มากที่สุดมากกว่าการได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ การพัฒนาระบบรับแจ้งเหตุและสั่งการที่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนการใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ทั้งนี้ ประชาชนในอำเภอสุไหงโก-ลก มีการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีจำนวนไม่มากนัก การพัฒนาหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมให้มีความรู้ความสามารถในเรื่องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น สามารถประเมินสภาพผู้ป่วยฉุกเฉินและสถานการณ์ และการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ทั้งในปัจจุบันจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบแตก ตัน
ในปีที่ผ่านมา การให้บริการของเครือข่ายให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชน การใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ของประชาชนในอำเภอสุไหงโก-ลก พบว่า คุณภาพด้านการดูแลในด้านต่างๆมี ดังนี้
 ด้านการดูแลทางเดินหายใจ เป้าหมาย ร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2561-2563 ร้อยละ 100, 99.3, 98 ตามลำดับ โดย
 ด้านการห้ามเลือด เป้าหมาย ร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2561-2563 ร้อยละ 96.40, 100, 97ตามลำดับ
 ด้านการดามกระดูก เป้าหมาย ร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ปี 2561-2563 ร้อยละ 100, 89.8, 98.9 ตามลำดับ
จากผลการดำเนินงานดังกล่าวคุณภาพด้านการดูแลทั้ง 3 ด้าน มีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น แต่ไม่ผ่านตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการดามกระดูก และด้านอื่น ๆ ยังต้องได้รับการฟื้นฟูความรู้ ทักษะการดูแลมากขึ้น ทั้งนี้งาน Pre hospital care ได้มีการแบ่งระดับในการรับผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ คือ FR, BLS, ALS โดยเครือข่ายที่ดำเนินการช่วยเหลือและเข้าถึงประชาชนที่เร็วตามการสั่งการคือ ระดับ FRเพื่อให้ผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นต้องได้รับการฟื้นฟู ความรู้ ทักษะ ในการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับ FR เพื่อการปฏิบัติช่วยเหลือ ณ จุดเกิดที่ถูกต้องปลอดภัย งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดโครงการฟื้นฟูหน่วยFirst responder ประจำปี 2563 อำเภอสุไหงโก-ลกขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อฟื้นฟูความรู้และทักษะให้ผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น ในการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างถูกวิธี ข้อที่ 2 เพื่อให้เข้าใจถึงการช่วยเหลือ ปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างถูกวิธี ลดอัตราการสูญเสียชีวิต ความพิการ สูญเสียทรัพย์สิน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ - ผ่านการอบรมความรู้ 100 % - ผ่านการฝึกปฏิบัติตามข้อกำหนด 100 %

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
  2. ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกเพื่อวางแผนจัดทำโครงการ
  3. สำรวจจำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น ผ่านการอนุมัติจาก อศป. สพฉ. จำนวน 70 คน
  4. ประสานงานขอความร่วมมือกับสถานที่จัดการอบรมฟื้นฟู ห้องประชุมมูลนิธิธารน้ำใจ งบประมาณ ดังนี้ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน10คน × 25 บาท × 1 มื้อ × 1 วัน เป็นเงิน 250บาท ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามประเมินความรู้ (Pre test)70 ชุด × 3 บาทเป็นเงิน210บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤศจิกายน 2563 ถึง 25 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะกรรมการในการดำเนินงานและเข้าใจกืจกรรมที่จัด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
460.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 วันจัดโครงการ ฟื้นฟูหน่วย First responder ประจำปี 2564 (กำหนดประมาณเดือนมีนาคม 2564)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 วันจัดโครงการ ฟื้นฟูหน่วย First responder ประจำปี 2564 (กำหนดประมาณเดือนมีนาคม 2564)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 1 ของกิจกรรมที่ 2 1 . เตรียมอุปกรณ์และจัดสถานที่ในการจัดการอบรม ห้องประชุมมูลนิธิธารน้ำใจ 2.  กรอกแบบสอบถามประเมินความรู้ (Pre test)
3.  เปิดโครงการ 4.  อบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล
5.  อบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล 6.  อบรมให้ความรู้และสาธิตการประเมินภาวะฉุกฉินและการช่วยเหลือระบบทางเดินอากาศ 7.  อบรมให้ความรู้และสาธิตการประเมินภาวะฉุกฉินและการช่วยเหลือระบบหายใจ 8.  อบรมให้ความรู้และสาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบอัตโนมัติ วันที่ 2 ของกิจกรรมที่ 2 1.  อบรมให้ความรู้เรื่องหัตถการสำหรับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน Procedure 2 .อบรมให้ความรู้และสาธิตการประเมินภาวะฉุกฉินและการช่วยเหลือระบบไหลเวียนเลือด 3. อบรมให้ความรู้และสาธิตการประเมินภาวะฉุกฉินและการช่วยเหลือภาวะคลอดฉุกเฉิน 4. อบรมให้ความรู้และสาธิตการการยกเคลื่อนย้ายโดยอุปกรณ์ต่าง ๆ 5. กรอกแบบสอบถามประเมินความรู้หลังจัดการอบรม(Post test) งบประมาณ ดังนี้.
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนx 25 บาท x 2 มื้อ × 2 วัน    เป็นเงิน       7,000 บาท
ค่าอาหารกลางวัน   จำนวน 70 คน x 50บาท x 1 มื้อ × 2 วัน     เป็นเงิน              7,000 บาท ค่าวิทยากร(ภาคทฤษฎี)   จำนวน 3 คน x 600 บาท x 1 ชั่วโมง × 2 วัน เป็นเงิน       3,600  บาท
ค่าวิทยากร(ภาคปฏิบัติ)  จำนวน 6 คน x 300 บาท x 3 ชั่วโมง × 2 วัน เป็นเงิน        3,600  บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์( แฟ้มเอกสาร คู่มือการฝึกอบรม ปากกา) 70 ชุด × 70 บาท  เป็นเงิน   4,900  บาท ค่าประกาศนียบัตร   70 ชุด × 20 บาท  เป็นเงิน                                             1,400  บาท ค่าทีมผู้ช่วยโครงการ (จัดสถานที่ เตรียมอุปกรณ์) จำนวน  8  คน × 40 บาท × 3 ชั่วโมง × 2 วัน
เป็นเงิน                                                                                                1,920  บาท
ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามประเมินความรู้ (Pre test)  70 ชุด × 3 บาท  เป็นเงิน        210  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น สามารถให้การช่วยเหลือและปฏิบัติตามแนวทางการแพทย์ฉุกเฉินได้ถูกต้องเหมาะสม
  2. ผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น มีการนำส่งผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ทันเวลา สามารถให้ข้อมูลผู้ป่วยได้ถูกต้อง
  3. ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยเหลือของผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36830.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,290.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น สามารถให้การช่วยเหลือและปฏิบัติตามแนวทางการแพทย์ฉุกเฉินได้ถูกต้องเหมาะสม
2. ผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น มีการนำส่งผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ทันเวลา สามารถให้ข้อมูลผู้ป่วยได้ถูกต้อง
3. ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยเหลือของผู้ปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้น


>