กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID) ในสถานศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์

นายบุญนำ เกษรินทร์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครูและบุคลากร

 

33.00
2 จำนวนนักเรียน

 

378.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

200.00
4 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

10.00

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งยอมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563เวลา 21.00 น. มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลกรวม 62 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษและเรือ Diamond Princess รวมจำนวน 86,993 ราย มีอาการรุนแรง 7,567 ราย เสียชีวิต 2,980 ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง 3,252 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 42 รายหายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล 31 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 10 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง 1 ราย ผู้ป่วยยืนยันเสียชีวิต 1 ราย
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการ ที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะ
และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ทุกคนสามารถป้องกันตนเองจากการระบาดของโรคติดต่อไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียน ครู และบุคคลากรในโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID)

นักเรียน ครู และบุคคลากรในโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID) ร้อยละ 80

411.00 328.00
2 มีจุดตรวจคัดกรองโรคโควิด2019เพื่อเฝ้าระวังการควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

มีจุดคัดกรองจำนวน 5 จุด

2.00 4.00
3 สถานศึกษาปลอดจากการแพร่เชื้อโรคโควิด 2019

อัราการเกิดโรค ร้อยละ 0

0.00 0.00
4 ผู้ปกครองมีความมั่นใจในมาตรการดูแลนักเรียนช่วงเปิดภาคเรียน

ระดับความพึงพอใจในมาตรการควบคุมโรคร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 378
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและบุคลากร 33

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าเอกสารในการอบรม เป็นเงิน 1,100บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล (ขนาด 1.20 * 2.40เมตร) จำนวน 1 ป้าย ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 2 ป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เจลล้างมือ (ขนาด 450 ml/ขวด)จำนวน 24 ขวด ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  • แท่นสแตนเลสวางขวดเจลล้างมือ จำนวน 4 แท่น ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดพร้อมที่วัดไข้ระบบเซนเซอร์อัตโนมัติมีที่กดเจลล้างมือในตัวจำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 5,500 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการเตรียมความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากขึ้น
- มีจุดตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อ
- สถานศึกษาปลอดจากการแพร่เชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ผู้ปกครองมีความมั่นใจในมาตรการดูแลนักเรียนช่วงเปิดภาคเรียนมากขึ้น


>