กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา (Covid-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ในพื้นที่ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ถูกต้อง

 

70.00
2 ร้อยละของทรัพยากร งบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

70.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อ 2045 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อโวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาส (SARS) และเมอร์ส (MERS) จากสถานการณ์ ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 ข้อมูลผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 214 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princess และเรือ Grand Princess และเรือ MS Zaandam ในวันที่ 19 ตุลาคม 2563 จำนวน 40,323,175 ราย มีอาการรุนแรง 71,993 ราย เสียชีวิต 1,118,825 ราย โดยประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 8,388,012 ราย อินเดีย 7,550,273 ราย บราซิล 5,235,344 ราย รัสเซีย 1,415,316 ราย อาร์เจนตินา 989,680 ราย สเปน 982,723 ราย โคลอมเบีย 959,572 ราย ฝรั่งเศส 897,034 ราย เปรู 868,675 ราย และเม็กซิโก 851,227 ราย และส่วนจีน เป็นอันดับที่ 53 มีจำนวนผู้ป่วย 90,973 ราย (รวมฮ่องกง 5,242 ราย มาเก๊า 46 ราย) สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,691 ราย และเสียชีวิต 59 ราย องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7)พ.ศ.2562 มาตรา 67 (3) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เพิ่มขึ้น

70.00 80.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละของทรัพยากร งบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เพิ่มขึ้น

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/01/2021

กำหนดเสร็จ 28/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันจัดทำขึ้น
  2. มีมาตรการและด่านคัดกรอง ป้องกันโควิด-19 ในชุมชน
  3. จัดทำข้อตกลง social distancing การรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1-2เมตร
  4. สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
  5. ทำความสะอาดในจุดสัมผัสร่วม
  6. ไม่อยู่รวมกันในที่แออัดหรือคนจำนวนมาก ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มกราคม 2564 ถึง 21 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นโยบาย/มาตรการต่างๆ และความร่วมมือของประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท
  3. ค่าป้ายไวนิล ขนาดความกว้าง 1 เมตร ความยาว 3 เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 ผืน รวมเป็นเงิน 450 บาท
    กลุ่มเป้าหมาย...ประกอบด้วย 1. กลุ่มคนทำงาน 2. กลุ่มประชาชนทั่วไป 3. กลุ่มผู้มีความเสี่ยง
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลรณรงค์การป้องกันโรคฯ ขนาดความกว้าง 1.2 เมตร ความยาว 2.4 เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 7 ผืน รวมเป็นเงิน 3,024 บาท
  2. ค่าแผ่นพับการป้องกันโรคฯ จำนวน 1,000 แผ่นๆ ละ 5 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8024.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,174.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้
2. มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>