กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๋อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวัดต๋อมดง ตำบลบ้านต๋อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านต๋อม

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวัดต๋อมดง

พระไพบูลย์ใจซื่อ และคณะ

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุวัดต๋อมดง ตำบลบ้านต๋อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ โดยการยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไปที่เน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง รวมถึงการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหา

 

100.00
2 แผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โดยมีกิจกรรมประกอบด้วยแนวทางการทำเนินงาน โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อม และโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ

 

100.00
3 แผนบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

 

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสร้างคุณค่าของผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมและขยายโอกาสทำงานสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว มีความปลอดภัยในที่สาธารณะของชุมชน 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมด้วยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แต่ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2.จัดทำโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน 3.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านชมรมผู้สูงอายุที่ประชุมประจำเดือนระดับหมู่บ้านและทางหอกระจายข่าว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตร

ชื่อกิจกรรม
2.จัดการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มช่วงเช้าสำหรับผู้สูงอายุที่เข้าเรียน จำนวน 40 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เดือนละ 2 ครั้ง x 10 เดือน รวมเป็นเงิน 20,000 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท = 900 บาท x 2 ครั้ง x 10 เดือน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38000.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตาม สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตาม สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผล สรุปบทเรียนและปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนในการเปิดภาคเรียนต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขจากการมาเรียน ขจัดปัญหาสุขภาพจิต ลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ได้รับความรู้ ทักษะ และวิชาชีพต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปสอนลูกหลานต่อไปได้
2.ประชาชนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของกลุ่ม ทำให้สุขภาพกายแข็งแรง จิตใจร่าเริง และสามารถปรับตัวดำเนินชีวิตร่วมกันได้
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / องค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคีเครือข่าย สามารถนำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปเป็นแนวทางในการสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน
4.เกิดช่องทางการบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุ ระหว่าง อปท. ชุมชน ภาคส่วนอื่นในท้องถิ่นร่วมพัฒนางานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ


>