กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแสประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ฝ่ายเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแส

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการปรานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของปราชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนกองทุนฯ นอกจากมีเจตนารมย์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนให้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง และการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีความสามารถในการบริหารด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นกลไกสำคัญให้การดำเนินงนของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลและเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุดประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561ข้อ 10เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติและข้อ 10 (4)เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนฯ ตามข้อ 7 อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวช้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 8องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตกลงสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพในอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7(1) ข้อ และข้อ 8 (2) “สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 กรณีรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 6 ถึง 20 ล้านบาท

ในปีงบประมาณ 2564กองทุนหลักประกันสุขภาพ คาดว่าจะไม่ได้รับเงินสมทบจากกองทุน สปสช.จำนวน127,620บาทและเทศบาลตำบลเชิงแสจะต้องสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ40เป็นเงิน51,048บาทรวมเป็นเงิน 178,688 บาทโดยกองทุนสามารถนำไปใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเชิงแส ไม่เกินร้อยละ20บาทเป็นเงิน35,737บาท

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการมีแผนพัฒนาสุขภาพเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

มีแผนพัฒนาสุขภาพตำบล / แผนงาน/โครงการ/สำหรับปีงบประมาณ 2563

1.00
2 เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนและอนุกรรมการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอนุมติได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และมีการประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการและผู้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อพิจารณาและติดตามงาน

1.00
3 เพื่อจัดซื้อวัดสุอุปกรณ์ครุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ

กองทุนมีวัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์ เพียงพอในการปฏิบัติงาน

1.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ บุคลากร และคณะกรรมการ อนุกรรมการ สำหรับดำเนินงานและช่วยเหลืองานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ มีความรู้ และเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานด้วยความถูกต้อง บรรลุผลสัมฤทธิ์

เจ้าหน้าที่ บุคลากร คณะกรรมการบริหารกองทุน และอนุกรรมการ มีศักยภาพสำหรับดำเนินงานและช่วยเหลืองานกองทุน หลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ และได้รับการพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 80

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนสุขภาพ ประจำปี 2564

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนสุขภาพ ประจำปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน20 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครืองดื่ม20 คน ๆ ละ 25เป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้เสนอโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้เสนอโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เบิกจ่ายค่าตอบแทนในการประชุมให้แก่ คณะกรรมการที่ปรึกษา กองทุน สปสช.19คนๆละ400 บาท จำนวน3ครั้งเป็นเงิน 22,800 บาท

  2. เบิกจ่ายค่าตอบแทนอนุกรรมการ LTCในการประชุมจำนวน10 คน ๆ ละ 400 บาทจำนวน1ครั้งเป็นเงิน 4,000 บาท

  3. เบิกจ่ายค่าตอบแทนอนุกรรมการที่ช่วยเหลืองานกองทุน สปสช.ทต.เชิงแสและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการประชุม จำนวน5 คน ๆ ละ 300 บาท จำนวน2ครั้งเป็นเงิน3,000 บาท

  4. จ้างเหมาประกอบอาหารกลางวันอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมพิจารณาโครงการฯจำนวน 3,072บาท

  5. ค่าวัสดุสำนักงานใช้ในการบริหารงานกองทุน สปสช. 1,165 บาท (ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้ตามที่จ่ายจริง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34037.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,737.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผานการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

3.คณะกรรมการบริหารกองทุน และอนุกรรกมาร ได้รรับความรู้ และพัฒนาศักยาภพในการปฺบัติงาน ทำให้การดำเนินงานกองทุนมีความถูกต้องและบรรลุผลสัมฤทธิ์

4.กองทุนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปด้วยความถูกต้อง


>