กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใส่ใจบริการผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ

ห้องประชุมอินทองโรงพยาบาลปะนาเระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต ปี 2558 รัฐบาลมีนโยบายทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน จากการลงเยี่ยมบ้าน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม พบว่า มีผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 7 รายและติดบ้านจำนวน 10 ราย ผู้ป่วยและญาติ มีความเครียดจากการเจ็บป่วยและขาดกำลังใจทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระได้ เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการดูแลสุขภาพที่บ้าน สร้างเครือข่ายชุมชนดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ care giver. จิตอาสา, ผู้นำชุมชน, อสม. ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปดูแลญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียงเพิ่มมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อเพิ่มทักษะการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยและอาสาสมัครสาธารณสุข
2. เพื่อลดความพิการซ้ำซ้อนในผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 21
อาสาสมัครสาธารณสุข 12
แกนนำอสม. 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ใส่ใจบริการผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
ใส่ใจบริการผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน61คนโดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม(61 คนx 50 บาท)เป็นเงิน 3,050.- บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(61 คนx25 บาท x 2 มื้อ) เป็นเงิน3,050.- บาท 3. ค่าวัสดุในการอบรมเป็นเงิน4,000.- บาท 4. ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้องและถูกวิธี
2. จำนวนผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่มีภาวะแทรกซ้อนและพิการซ้ำซ้อนมีจำนวนลดลง


>