กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคลินิก DPAC สุขใจไร้พุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

นายเอนก กลิ่นรส ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

หมู่ที่ 1,7,9ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

0.50

ปัจจุบันวิถีชีวิตของประชาชนไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปมากโดยเฉพาะผู้อาศัยอยู่ในเขตเมืองเริ่มมีรูปแบบการบริโภคอาหารต่างไปจากเดิม อันมีผลทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการขึ้นในกลุ่มต่างๆ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงโรคข้อ และอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการควบคู่กับการออกกำลังกายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้จะต้องเน้นการดูแลด้านสุขภาพให้ได้รับสารอาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
องค์การอนามัยโลกได้ประกาศในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ว่า ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน โรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้า เป็นต้น และยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง ๒๐-๗๔ ปี กว่าครึ่งหนึ่ง มีผลมาจากความอ้วน ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ล้านคนและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นโดยคาดว่าอีก ๑๕ ปีข้างหน้าหรือในปีพ.ศ.๒๕๖๕ ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ๒๕ล้านคนซึ่งจะมีประชากรในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาประมาณ ๑๙ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๖ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศนอกจากนี้ยังปรากฏว่า ร้อยละ ๒-๘ ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วน ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ในทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีปัญหาเกี่ยวกับความชุกของภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุอย่างรวดเร็ว
โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นฆาตกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุง จะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีเส้นรอบเอวของเพศชายเกิน ๓๖ นิ้ว หรือ ๙๐ เซนติเมตร เพศหญิงเกิน ๓๒ นิ้ว หรือ ๘๐เซนติเมตรซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน
หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพและการลดรอบเอวเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดีคือ การดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหารการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการดูแลสุขภาพจิต และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ให้หลากหลายและพอเพียง งดหวานมัน เค็มหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่กับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากไม่มีเวลาออกกำลังกายมากพอก็ควรเดินให้ได้วันละ ๑๐,๐๐๐ ก้าว และพักผ่อนให้เพียงพอถ้าน้ำหนักตัวลดลง ร้อยละ ๕-๑๐ ของน้ำหนักเดิม ไขมันในช่องท้องจะลดลงไปได้ถึงร้อยละ ๓๐
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวจึงจัดตั้งคลินิกไร้พุง (Diet & Physical Activity Change Clinic : DPAC) ในชมรมสร้างสุขภาพในสังกัดหน่วยงานและผู้รับบริการที่ดัชนีมวลกายเกินเพื่อการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มสมาชิกด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้งานส่งเสริมสุขภาพอนามัยกลุ่มสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ โดยทั่วหน้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการตรวจสุขภาพ ประเมินสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงทุกคน

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง ได้รับการประเมินสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง ทุกคน

25.00 25.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีรอบเอวเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 30

กลุ่มเป้าหมายที่รอบเอวเกินเข้าร่วมกิจกรรมมีรอบเอวเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 30

8.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงที่สมัครใจลดความอ้วน จำนวน 25 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงที่สมัครใจลดความอ้วน จำนวน 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงที่สมัครใจลดความอ้วน ได้รับความรู้ ทักษะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6100.00

กิจกรรมที่ 2 กลุ่มเสี่ยงออกกำลังกายแบบแอโรบิคลดพุง

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเสี่ยงออกกำลังกายแบบแอโรบิคลดพุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กลุ่มเสี่ยงออกกำลังกายแบบแอโรบิคลดพุง อย่างต่อเนื่อง ทุกคน
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2564 ถึง 23 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง รอบเอวลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 30
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มเป้าหมาย ก่อน - หลังเข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มเป้าหมาย ก่อน - หลังเข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว
  • ประเมินค่าดัชนีมวลกาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 23 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง รอบเอวลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ ร้อยละ 30-
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 23 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ร่วมกันทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,100.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวจัดบริการตรวจสุขภาพประเมินสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง และคัดกรองต่อโรคอ้วนลงพุงทุกคน
- จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการคลินิกไร้พุงรอบเอวปกติ ร้อยละ 30
- อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองลดลง


>