กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชาวท่าข้ามรู้เท่าทันโรคติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ

ห้องประชุมอินทองโรงพยาบาลปะนาเระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมได้นานเจริญเติบโตได้รวดเร็วสามมารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคติดต่ออื่นๆ โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ
ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ จึงได้จัดทำโครงการ ชาวท่าข้ามรู้เท่าทันโรคติดต่อเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน อสม.และทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคพร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบลและตัวแทนอสม. ให้มีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรค ให้สามารถรับมือการระบาดของโรคและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ทีม SRRT และอสม. ในการดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ การตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ การสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและการควบคุมโรค
3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ทีม SRRT ตำบลท่าข้าม 12
ประชาชนทั่วไป 32
แกนนำอสม. 8

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูความรู้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำทีม SRRT ตำบลท่าข้าม แกนนำอสม.และประชาชนทั่วไป จำนวน 52 ราย เพื่อจัดกิจกรรมฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในพื้นที่ จำนวน 1 วัน ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม  52 คน x 50 บาท x 1 มื้อ         เป็นเงิน 2,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 52 คน x 25 บาท x 2 มื้อ      เป็นเงิน 2,600 บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรม                                                           เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าไวนิล                                เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม  52 คน x 50 บาท x 1 มื้อ       เป็นเงิน 2,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 52 คน x 25 บาท x 2 มื้อ      เป็นเงิน 2,600 บาท
  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม                                                           เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าไวนิล                                เป็นเงิน 1,000 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน อสม.และทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล มีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญและสามารถป้องกันควบคุมโรคตามหลักระบาดวิทยาได้
2. ทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล มีความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันโรค สามารถรับมือควบคุมการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ภาคีเครือข่ายชุมชนตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อหรือโรคระบาด


>