กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมโนะ

1. นางสาวซูไฮลา ลีเดร์ เบอร์โทร 087-4784896

ณ.ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเป้าหมายคือการสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพได้ตามความจำเป็นโดยถือ “สิทธิ” ขั้นพื้นฐานของประชาชนมิใช่เป็นเรื่องที่รัฐสงเคราะห์ หรือช่วยเหลือประชาชนทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๒ ที่ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ์เสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของ
รัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมี “สุขภาพดี”หรือมี“สุขภาวะ”ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของระบบสุขภาพได้ การที่ประชาชนจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น ประชาชนต้องสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น สามารถเข้ามามีส่วนร่วม ดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพได้ โดยถือว่า “สุขภาพ” เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน และเพื่อประชาชนทุกคน (All for Health and Health for All) ทั้งหมดจะเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ
การแพทย์แผนไทยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลมีสุขภาพดีรวมไปถึงครอบครัวผู้ป่วยในลักษณะองค์รวม (Holisticcare) ครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งตรงตามจุดเน้นในการพัฒนาเกี่ยวกับ Palliativecare ให้การดูแลผู้ป่วยที่เป็นแม่หลังคลอด โรคเรื้อรัง,พิการ อัมพฤกษ์,อัมพาต,โรคที่รักษาไม่หายขาด และมีความพิการหลงเหลืออยู่ ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นระยะเวลานานส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความเครียด วิตกกังวล ขาดกำลังใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตร่วมกับแกนนำเครือข่ายการแพทย์แผนไทยหมู่บ้านละ ๒ คน เพื่อระบบบริการสาธารณสุขสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด ทั่วถึง ต่อเนื่อง ผู้ป่วยและญาติ สามารถประเมินถึงภาวะของร่างกายด้านการฟื้นฟู ภาวะโรคแทรกซ้อน ความผิดปกติอื่นๆ เป็นต้น ถึงการมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือลดลงอย่างไรนอกจากนี้ญาติผู้ป่วยมีแรงจูงใจใหม่และกำลังใจ ในการดูแลรักษาสุขภาพที่แตกต่างไปจากการดูแลรักษาสุขภาพเฉพาะแต่ในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว และทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาว สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นที่ยอมรับในสังคมและครอบครัว ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยบุคคลธรรมดา และผู้ที่สนใจได้เข้าใจถึงเหตุและปัจจัยต่างๆ ของโรค รวมไปถึงวิธีและแนวทางปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยร่วมกับเครือข่ายการแพทย์แผนไทย(ร้อยละ)

 

100.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคอย่างต่อเนื่อง(ร้อยละ)

 

85.00
3 เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย(ร้อยละ)

 

100.00
4 สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างถูกวิธีมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ(ร้อยละ)

 

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
โครงการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเครือข่ายเพื่อวางแผนปฏิบัติงาน
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน งบประมาณ การให้ความรู้ด้านสมุนไพรในลูกประคบสมุนไพร แก่ประชาชนตำบลมูโนะ60 คน

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท * 60 คน * 2 มื้อ เป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 * 60 คน เป็นจำนวนเงิน 3,000 บาท
- ค่าวิทยากร 600 บาท * 6 ชั่วโมงเป็นจำนวนเงิน 3,600 บาท
- ค่าป้ายไวนิล เป็นจำนวนเงิน 900 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นจำนวนเงิน 10,900 บาท 3. ออกปฏิบัติงานตามแผน รวบรวม สรุปผลการปฏิบัติงาน พร้อมปัญหา และอุปสรรคเพื่อการแก้ไขในเดือนถัดไป 4. ประเมินผลโครงการ และรายงานผลการปฏิบัติงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,220.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างถูกวิธีมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ
2. สามารถนำความรู้ไปดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับตนเองและครอบครัว
3. ความรู้ไปดูแลฟื้นฟูสุขภาพให้กับผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตได้
4. สามารถอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรไทยให้สืบทอดคงอยู่ต่อไป
5. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคอย่างต่อเนื่อง


>