กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน รหัส กปท. L4147

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเยาวชนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2564
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box
กลุ่มประชาชน
ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน
กลุ่มคน
1.นายอะนัส สูแป
2.นายอาฟีฟี อาแด
3.นางสาวคอมซา เจ๊ะมะ
4.นายอัลฟัต มะสาและ
5.นางสาวฟิรดาว อุดมตานี
3.
หลักการและเหตุผล

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีพระดำริให้มีโครงการ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาทั่วประเทศ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนต่าง ๆ ตามพระปณิธาน "ทุกคนเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด" โดยมีการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา และพัฒนา EQ จนเป็นที่สนใจในกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างมาร่วมกิจกรรมอันเปิดโอกาสให้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งทำให้เยาวชนที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้พัฒนาความสามารถในด้านที่ตนถนัดด้วยกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านกีฬา ดนตรี และการช่วยเหลือสังคม ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตชุมชน รวมทั้งพื้นที่ที่มีสถานบริการ และแหล่งมั่วสุม อบายมุขต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ร้านเกมส์ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 6 - 24 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย ด้านจิตใจและมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ วัยรุ่นเป็นวัยอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด การรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การท้องไม่พร้อม เพื่อจะได้รู้จักการหลีกเลี่ยงจากปัญหาดังกล่าว

จากรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2559 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ประมาณตัวเลขของผู้ที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับยาเสพติดไว้ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของคนไทยที่มีประมาณ 65 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.93 พูดได้ว่าในจำนวนประชากรทุกๆ 100 คน จะมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดถึง 3 คน และ จากข้อมูลการเข้าบำบัดรักษาของประชาชนตำบลบาโงยซิแน พบว่า ปี 2555 มีผู้เข้ารับการบำบัด 29 ราย ปี 2556 มีผู้เข้ารับการบำบัด 30 ราย ปี 2557 มีผู้เข้ารับการบำบัด 1 ราย ปี 2558 มีผู้เข้ารับการบำบัด 15 ราย ปี 2559 มีผู้เข้ารับการบำบัด 2 ราย ปี 2560 ไม่มีผู้เข้าบำบัด ปี 2561 มีผู้เข้าบำบัด 6 ราย และปี 2562 มีผู้เข้าบำบัด 6 ราย และ ปี 2563 มีผู้เข้าบำบัด 4 ราย แต่ยังมีเยาวชนเป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อยากรู้ อยากลอง โดยการสูบบุหรี่เป็นการเริ่มต้น และข้ามไปหายาเสพติดต่อไป จึงจำเป็นจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้เยาวชนกลุ่มเสพ ไปมั่วสุมกลับไปมีพฤติกรรมซ้ำ สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข และกลุ่มเสี่ยง เลิกยุ่งจากยาเสพติด และจากการทำเวทีประชาคม ประชาชนได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นลำดับต้นๆ โดยเฉพาะการป้องกันในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต ในการป้องกันการเริ่มต้นการติดยาเสพติดมักมาจากการสูบบุหรี่ก่อน แล้วพัฒนา ไปใช้ยาเสพติดอื่น เนื่องจาก ประชาชนขาดโอกาสในการศึกษาเป็นจำนวนมากและขาดความรู้ความเข้าใจในโทษของบุหรี่ อย่างลึกซึ้ง

ในปัจุบัน ตำบลบาโงยซิแน มีประชากรที่สูบบุหรี่จำนวนมาก คิดเเป็นร้อยละ 20.84มีผู้สูบบุหรีที่เป็นเพศชายและเพศหญิง อีกทั่งยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เสพติดการสูบบหรี่ บุหรี่มีโทษมากมายหลายอย่างโดยเฉพาะโทษต่อตัวเองและคนรอบข้างด้านสุขภาพ ซึ้งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการสูบบุหรี่ตามมา และจากการสำรวจหาข้อมูลมีคนในหมู่บ้านที่มีโรคทางเดินหายใจจากผลที่เกิดจากสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นสิ่งอันตรายต่อสูขภาพต่อผู้ที่สูบบุหรี่และคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่โดยตรง หรือทางอ้อมจากการได้รับควันบุหรี่มือสองและภัยอันตรายจากควันบุหรี่มือสาม และสารพิษที่ได้รับจากบุหรี่ อาจทำให้ทำร้ายสูขภาพต่อระบบต่างๆ เช่น ส่งผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ และระบบการไหลเวียนเลือด ชมรม TO BE NUMBER ONE ได้ศึกษาค้นหาข้อมูล และได้ให้ความสำศัญต่อภัยอันตรายของบุหรี่ ซึ่งจะนำความรู้ให้สู่หมู่บ้านกับเด็กและเยาวชนได้มีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ ที่ถูกต้อง และหลี่กเลี่ยงการสูบบุหรี่อันจะนำไปสู่สิ่งเสพติดอื่นๆ ต่อไป

ดังนั้น ชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบาโงยซิแน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน แกนนำชุมชน และชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน ได้ตระหนักถึงอันตรายของปัญหายาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 10-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นกำลังสำคัญของชุมชนในอนาคต จึงได้ดำเนินการควบคุมและป้องกัน ตามนโยบายและแนวทางของจังหวัดยะลา มาโดยตลอด แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่มาก ทั้งด้านความจำกัดในทรัพยากร ลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิธีการจัดการ การรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นผลให้การปัญหาดังกล่าว ไม่ได้ประสิทธิผลเป็นที่น่าพอใจ การแก้ไขต้องกระทำร่วมกัน ในภาพรวมพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งภาคเอกชนควบคู่กันไป ที่สำคัญที่สุดให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนมีบทบาทอย่างเต็มที่ ในการป้องกันปัญหาของชุมชนเอง โดยยึดแนวดำเนินการตามโครงการ TO BE NUMBER ONE มาเติมเต็ม จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนบาโงยซิแน เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งบุหรี่และยาเสพติด ด้วยกระแส TO BE NUMBER ONE ปี 2564 ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน
    ตัวชี้วัด : อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ) 15
    ขนาดปัญหา 25.00 เป้าหมาย 15.00
  • 2. เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
    ตัวชี้วัด : จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (ร้อยละ) 50
    ขนาดปัญหา 250.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน
    ตัวชี้วัด : อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านของตนเองลดลงเหลือ(ร้อยละ) 30
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 30.00
  • 4. เพื่อลดจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย
    ตัวชี้วัด : จำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อยลดลงเหลือ (ครั้ง) 2
    ขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 2.00
  • 5. เพื่อลดจำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน
    ตัวชี้วัด : จำนวนผู้เสพยาเป็นครั้งคราวในชุมชน ลดลงเหลือ (ร้อยละ) 50
    ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 50.00
  • 6. เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง
    ตัวชี้วัด : เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในเรื่องยาเสพติดบุหรี่ และการป้องกันตัวเอง ในระดับดี (ร้อยละ) 80
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 80.00
  • 7. เพื่อสนับสนุนเยาวชน ให้จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยบุหรี่ และยาเสพติดโดยการสนับสนุนของสังคม
    ตัวชี้วัด : 1. เยาวชน จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ต้านภัยยาเสพติด จำนวน 2 กิจกรรม 2. จัดนิทรรศการ TO BE NUMBER ONE จำนวน 1 ครั้ง 3. เกิดแกนนำเยาวชนในการรณรงค์เรื่องบุหรี่และยาเสพติด
    ขนาดปัญหา 2.00 เป้าหมาย 2.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
    รายละเอียด
    1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
    2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัด
    3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน

    ค่าใช้จ่าย จัดอบรมรุ่นละ 1 วัน จำนวน 2 รุ่นๆละ 100 คน
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 100 คน* 2 มื้อ * 2 รุ่น เป็นเงิน 10,000 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 100 คน* 1 มื้อ * 2 รุ่น เป็นเงิน 14,000 บาท
    -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท* 10 ชม. เป็นเงิน 6,000 บาท
    -ค่าวัสดุในการอบรมและจัดกิจกรรม (ค่าเอกสาร สมุด ปากกา กระเป๋าผ้า เป็นต้น) เป็นเงิน 20,000 บาท
    รวม 50,000 บาท

    งบประมาณ 50,000.00 บาท
  • 2. 1. รณรงค์สร้างกระแส และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้
    รายละเอียด
    1. จัดทำสื่อความรู้แผ่นพับ ในเรื่อง บุหรี่ และโทษภัยยาเสพติด
    2. จัดทำไวนิลความรู้ และประชาสัมพันธ์ ขนาด 0.8 x1 เมตร
    3. จัดทำนิทรรศการในศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE บริเวณชมรมงาน TO BE NUMBER ONE และเรณรงค์สร้างกระแส ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    4. สนับสนุนกิจกรรม ชมรม TO BENUMBER ONE ในสถานศึกษาในพื้นที่ และร่วมเป็นเครือข่ายในสถานประกอบการโรงเรียน และชุมชนใกล้เคียง
    5. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ทางรถประชาสัมพันธ์ และเสียงตามสาย ในการป้องกันยาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    6. แจกสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ตามบ้าน และพื้นที่เสี่ยง ค่าใช้จ่าย

    - ค่าจัดทำแผ่นพับความรู้ จำนวน 1,500 แผ่นๆละ 10 บาทเป็นเงิน 15,000 บาท
    - ค่าไวนิลความรู้ และประชาสัมพันธ์ ขนาด 0.8 x 1 เมตร จำนวน 40ชุดๆละ 250บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
    - ค่าวัสดุในการจัดนิทรรศการ และรณรงค์สร้างกระแส (ค่าไวนิล โฟมบอร์ด ค่าอุปกรณ์ตกแต่ง และอื่นๆ เป็นต้น) เป็นเงิน 20,000 บาท
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
    - ค่าตอบแทนในการแจกสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นพับและให้สุขศึกษา วันละ 200 บาท * 6 คน * 10 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท
    รวม ุ62,000 บาท

    งบประมาณ 62,000.00 บาท
  • 3. สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
    รายละเอียด

    จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
    ค่าใช้จ่าย
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 40 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
    - ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 40 คน* 1 มื้อ เป็นเงิน 2,800 บาท
    - ค่าวัสดุในการประชุมและจัดทำรูปเล่ม (สมุด ปากกา แฟ้ม ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น) 3,200บาท
    รวม 8,000 บาท

    งบประมาณ 8,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมูที่ ๑-๖ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 120,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการป้องกันปัญหายาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ ในโรงเรียน และชุมชน
  2. ผู้นำชุมชนมีศักยภาพในการเป็นแกนนำต้านภัยยาเสพติดโรคเอดส์ในชุมชนได้
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็งและปลอดจากยาเสพติดบุหรี่มือสอง โรคเอดส์ อย่างยั่งยืน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน รหัส กปท. L4147

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน รหัส กปท. L4147

อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 120,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................