กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลป้องกันคนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยา ตำบลมะรือโบออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความของ “ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use)” ไว้ คือ “ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด” (WHO,1985) การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่สมเหตุผล ข้อมูลปี 2554 กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ในรอบ 10 ปี ไทยพบปัญหาเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิด ที่พบบ่อยดื้อยาปฏิชีวนะ สูงกวา 30 เท่าตัว เพราะเหตุการณ์ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกโรค ไม่ถูกวิธี อัตราการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 20,000 – 38,000 คน ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าปกติ คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 46,000 ล้านบาท มากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและจากอุบัติเหตุ แผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564 ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ และกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายในปี 2564 ไว้ 5 ประการ ที่สำคัญต่อประชาชน คือ ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
จากผลการสำรวจประชากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก จำนวนประชากร 4,633 คน พบว่า ประเด็นปัญหาสำคัญส่วนใหญ่ประชาชนไม่ทราบความแตกต่างของยาปฏิชีวนะกับยาแก้อักเสบ คิดเป็นร้อยละ 41.33 ซื้อยาชุดจากร้านชำมากินเอง คิดเป็นร้อยละ 21.33 และจากข้อมูลผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมในชุมชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเป็นหวัด น้ำมูกไหล เจ็บคอ จะมีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบ เฉียบพลันเป็นลำดับแรก คิดเป็นร้อยละ 82.00 และเมื่อมีบาดแผลสดจากอุบัติเหตุมีการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคบาดแผลสดนั้นเป็นลำดับแรก คิดเป็นร้อยละ 80.00
จากความสำคัญดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การพัฒนากลไกและเครื่องมือเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลด้วยการสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และการพัฒนาระบบและกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพ และการดื้อยาของเชื้อก่อโรค เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชนในชุมชน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนในชุมชน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ จัดทำโครงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ป้องกันคนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยานี้ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งครอบคลุมประเด็งการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุดและการใช้
ยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 20 ของประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น

42.00 44.00
2 2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

42.00 44.00
3 3.เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลมะรือโบออก

ประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลมะรือโบออกเป็นจำนวนร้อยละ 80

42.00 44.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 42
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลป้องกันคนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยา ตำบลมะรือโบออก ปี 2564 กิจกรรมย่อย กิจกรรมที่ 1. ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลป้องกันคนในชุมชนเกิดเชื้อดื้อยา ตำบลมะรือโบออก ปี 2564 กิจกรรมย่อย กิจกรรมที่ 1. ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 42 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,520 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 42 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
3.ค่าวัสดุสำนักงาน - ค่าสมุด จำนวน 42 เล่ม x 15 บาทเป็นเงิน 630 บาท
- ค่าปากกา จำนวน 42 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 210 บาท
- ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 42 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน3,360บาท
4. ค่าไวนิล 1 ชุด x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5 .ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมงๆละ600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12320.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น
2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
3.เพื่อสร้างความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลมะรือโบออก


>