กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

นางพัตรา บุญเกลี้ยง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

ตำบลตำนาน หมู่ที่ 3, 4, 6 , 8 ,9,13 และ 14

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

25.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

ข้อมูลจากการสำรวจ จปฐ.ปี 2563

65.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ข้อมูลจากการสำรวจ จปฐ.ปี 2563

72.00
4 ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

89.00

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมรูปแบบเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมีส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมในลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ยปีละ 2,013 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 45-54 ปี (กรมควบคุมโรค,2563) จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนจังหวัดพัทลุง ในปี 2563 พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ร้อยละ 71.33 พบว่า มีเกษตรกรที่มีผลการตรวจเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 44.88 และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นในปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระดำเนินการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกร จำนวน 115 คนพบว่า เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย จำนวน 51 คน ร้อยละ 44.35 กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเป็นกลุ่มวัยแรงงานหากกลุ่มวัยแรงงานเกิดการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและจังหวัด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านโตระ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการใช้สารเคมี และรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองจากการอุปโภคบริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสารเคมีในการเกษตร

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เพื่มขึ้น

300.00 280.00
2 กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด

กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด

300.00 280.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเกษตรกรที่มีภาวะเสี่ยงของปริมาณสารเคมีในเลือด 280

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงฯและรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงฯและรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงฯ จำนวน 300 ชุด ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คัดกรองผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ระบุกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 600 บาทจำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 280 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 280 คน เป็นเงิน 7,000 บาท
  • กระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรสจำนวน 3 ชุด ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเลือดหาสารเคมีในเลือด ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18800.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจคัดกรองซ้ำกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจคัดกรองซ้ำกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รับประทานชารางจืด วันละ 1 ซองติดต่อกัน 7 วัน (งบประมาณของ รพ.สต.บ้านโตระ)
  • ตรวจคัดกรองซ้ำ
  • กระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรสจำนวน 1 ชุด ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติเมื่อตรวจซ้ำผลการตรวจปกติ ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินผลโครงการและส่งคืนข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย ณ ที่ประชุมหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการและส่งคืนข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย ณ ที่ประชุมหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รายงานสรุปผลโครงการและะส่งคืนฐานข้อมูลการดำเนินโครงการในการประชุมหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ปชช.มีความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเกษตร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,700.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น
- กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยงทุกคน
- กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
- เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจซ้ำ ระดับความเสี่ยงสารเคมีลดลง


>