กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเสี่ยงเลี่ยงไตวาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1.นายสมภพ สุวรรณชมภู
2.นางสาวอามีเนาะ สาและ
3.นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4.นางสาวเจะมาสนี เจะและ
5.นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต

 

20.00

อุบัติการณ์โรคไตเรื้อรัง และโรคไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากเมื่อเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ๒๕๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี หรือการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งขาดแคลนไต จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (ปี ๒๕๕๖) พบผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายร้อยละ ๖๒.๕ ต่อประชากร ๑ ล้านคนต่อปี (๓,๙๙๘ ราย)
สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย ปี ๒๕๖๓ มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด แยกผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน ๑๒๗ คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน๒๗ คน และผู้ป่วยที่เป็นทั้งความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน ๔๕ คน พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน ๓๗ คน ไตเรื้อรัง ระยะที่ ๒ จำนวน ๑๙ คนคิดเป็นร้อนละ ๒๖.๐๓ไตเรื้อรัง ระยะที่ ๓ จำนวน ๑๖คนคิดเป็นร้อนละ ๒๑.๙๒ ไตเรื้อรัง ระยะที่ ๔ จำนวน ๑ คนคิดเป็นร้อนละ ๑.๓๖ ไตเรื้อรัง ระยะที่ ๕และล้างไต จำนวน ๑ คนคิดเป็นร้อนละ ๑.๓๖ และเสียชีวิตจากโรคไตวาย จำนวน ๓คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๑๑ นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จะส่งผลต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วน และผลการตรวจ พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาฃส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวายเรื้อรังจำนวน ๗๓ คน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอุบัติการณ์เกิดภาวะไตวาย ในสถานบริการ

ผู้ป่วยไตวายรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 20

20.00 1.00
2 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ได้รับการค้นหาและคัดกรองโรคไตเรื้อรัง ร้อยละ 80

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 72
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลดเสี่ยงเลี่ยงไตวาย

ชื่อกิจกรรม
ลดเสี่ยงเลี่ยงไตวาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมชี้แจงเรื่องการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไต ให้แก่กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่เสี่ยงเกิดภาวะไตวาย
-ค่าพาหนะสำหรับผู้เข้ารับการชี้แจง จำนวน ๗๓ คนๆละ ๕๐ เป็นเงิน ๓,๖๕๐บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าประชุมชี้แจ้ง ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๗๓ คน เป็นเงิน ๓,๖๕๐ บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการประชุมชี้แจง คนละ ๕๐บาทจำนวน ๗๓ คนเป็นเงิน ๓,๖๕๐ บาท -ค่าวัสดุเป็นเงิน ๓,๒๖๐ บาท -ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน ๗๓ ชุดๆละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๒,๑๙๐ บาท -ค่าป้ายโครงการ ขนาด ๑.๒3 เมตร เป็นเงิน ๗๒๐ บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการติดในหมู่บ้าน ขนาด ๑.๒๓ เมตร จำนวาน ๔ผืนๆละ ๗๒๐ บาท เป็นเงิน ๒,๘๘๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต และโรคเบาหวานสามารถดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไต ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายในตำบลปุโละปุโยลดลง
2. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแลและป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรัง


>