กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

นางพัตรา บุญเกลี้ยง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ

หมู่ที่ 3 4 6 8 9 13 และ 14 ตำบลตำนาน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

 

4.92
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

1.00

โรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้วยังมีโรคติดต่อที่อุบัติขึ้นมาใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต การรับประทานอาหาร ความก้าวหน้าในการรักษาโรคต่าง ๆ ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค โรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคCOVID-19โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯลฯ และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตระ ทำให้คนในหมู่บ้านป่วย และเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาในการรักษาพยาบาล และอาจเสียชีวิตได้ ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วนับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีมาตราการควบคุม ป้องกัน การเกิดและระบาดของโรคติดต่อให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยคนในครัวเรือน ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการควบคุมและทำลายแหล่งของเชื้อโรคในบ้านและบริเวณบ้านของตน อย่างจริงจัง และต่อเนื่องสืบไป ซึ่งจะนำไปสู่การปลอดภัยจากโรคติดต่อและการมีสุขภาพที่ดีโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำลบ้านโตระจึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ควบคุมและป้องกันโรคในชุมชนเพื่อควบคุมป้องกันการเกิดโรคติดต่อและโรคอุบัติซ้ำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกันโรคติดต่อ

อสม.ร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศัยภาพ

60.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ

ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อร้อยละ 20

60.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.โดยให้ความรู้ในโรคติดต่อและโรคอุบัติการณ์ใหม่)

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.โดยให้ความรู้ในโรคติดต่อและโรคอุบัติการณ์ใหม่)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อสม.ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 432 บาท (ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร X 150 บาท/ตรม.)เป็นเงิน 864 บาท
  • ป้ายไวนิลสำหรับรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมติดตั้ง จำนวน 20 ป้าย ๆ ละ 144 บาท (ขนาด 1.2 X 0.8เมตร X 150 บาท/ตรม.)เป็นเงิน2,880 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าหน้ากากอนามัย กล่องละ 50 ชิ้นจำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15744.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,744.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- อสม.และประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
- อสม.และชุมชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน
- อสมและชุมชนมีการเร่งรัดในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขึ้น
- อสม.และประชาชนในชุมชนได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
- อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนลดลงอสม.และ


>