กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือนบ้านปูโปะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 4 บ้านปูโปะ

1. นางสาวมานีรา ลอแม ประธาน
2. นางสาวโนรียา บุญมาก รองประธาน
3. นางสาวนาซียะยากรรมการ
4. นางสาวฮายูอารงกรรมการ
5. นางสาวฮามีดะมะแลนอ เหรัญญิก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะและ หมู่ 4 บ้าน ปูโปะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่นเนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดสารอาหารสิ่งที่พบเห็นคือ เด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ยซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกดขึ้นไม่ใช่แค่ทางด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาด้านสมองด้วย ในปี 2563โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72เดือนขึ้น เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในชุมชน จากการดำเนินงานยังพบว่าปัญหา อัตราความครอบคลุมการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในหมู่ 4 บ้านปูโปะพบเด็กมีการเจริญเติบโตน้ำหนักต่ออายุตามเกณฑ์พบ ร้อยละ86.4 ซึ่งเป้าหมายกำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ85ปัญหาเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อยพบ ร้อยละ 6.1 เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์พบร้อยละ5.2ซึ่งเป้าหมายกำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7
จากการสำรวจความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กพบว่า ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กยังขาดความรู้เรื่องการดูแลด้านโภชนาการ และมีพฤติกรรมการดูแลเด็กด้านโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครตำบลมูโนะหมู่ 4 บ้านปูโปะ จึงเห็นความสำคัญการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด- 72 เดือนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกในเด็กแรกเกิดถึง72เดือนเพื่อค้นหาคัดกรองเฝ้าระวังแบบเชิงรุกให้มากขึ้นและยังพัฒนางานโภชนาการและเสริมสร้างความเข็มแข็งของในชมรมอาสาสมัครหมู่ 4 บ้านปูโปะ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็ก 0-72เดือน ลดลงร้อยละ 7

เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็ก 0-72 เดือน ลดลงร้อยละ 6

1.00 0.00
2 เพื่อคัดกรองโภชนาการมากกว่าร้อยละ 95

คัดกรองโภชนาการร้อยละ 96

1.00 0.00
3 ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและมีความตระหนักมากขึ้น

ผู้ปกครองมีความรู้โภชนาการเด็กมากขึ้น

1.00 0.00

1.เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็ก 0-72เดือน ลดลงร้อยละ 7
2.เพื่อคัดกรองโภชนาการมากกว่าร้อยละ 95
3. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและมีความตระหนักมากขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกและส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้สมวัยในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเชิงรุกและส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้สมวัยในเด็กแรกเกิดถึง 72 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยชมรมอาสาสมัครหมู่บ้าน หมู่ 1
  2. กิจกรรมคัดกรองเชิงรุกค้นหาเด็กทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเด็ก 0-72 เดือนทุก 3 เดือน
  3. จัดกิจกรรม อบรมแบบเข้มข้นให้กับผู้ปกครองเด็กแรกเกิด-72 เดือนที่มีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และ น้ำหนักค่อนข้างน้อย
    รายละเอียด งบประมาณดังนี้ กิจกรรมคัดกรองเชิงรุกค้นหาเด็กทุพโภชนาการ ครั้งที่1
    -ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล 3,000  บาท * 1  เครื่อง  เป็นเงิน3,000 บาท -สายวัดความยาวเด็ก 150 บาท  * 1   เส้น เป็นเงิน   150  บาท

- ค่าไวนิล (ขนาด 1.2 * 2.4) 1 ผืน 720 บาท เป็นเงิน 720 บาท              - ค่าอาหารว่างสำหรับเด็กแรกเกิด-72 เดือน   25 บาท * 50  คน * 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250  บาท              - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ปกครอง เด็กแรกเกิด-72 เดือน 25 บาท * 50 คน * 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็ก 0-72เดือน ลดลงร้อยละ 7 2.เพื่อคัดกรองโภชนาการมากกว่าร้อยละ 95 3. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและมีความตระหนักมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6370.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่านมไทยเดนมาร์คสำหรับเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และค่อนข้างน้อย  20 บาท  * 36 กล่อง* 10  คน * 3  เดือน เป็นเงิน  21,600บาท
              -ค่าวิทยากร 600 บาท 2 คน3 ชั่วโมง เป็นเงิน  3,600  บาท
              -ค่าวัสดุสำนักงาน 10 คน * 50  บาท  เป็นเงิน  500 บาท
              - ค่าอาหารว่างสำหรับเด็กแรกเกิด-72 เดือน   25 บาท * 10 คน * 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท              - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ปกครอง เด็กแรกเกิด-72 เดือน  25 บาท * 10 คน * 2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท               - ค่าอาหารกลางวันสำหรับเด็กเกิด-72 เดือน   50 บาท * 10 คน * 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
              - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ปกครอง 50 บาท * 10 คน * 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27700.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคัดกรองเชิงรุกติดตามเด็กทุพโภชนาการ ครั้งที่2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองเชิงรุกติดตามเด็กทุพโภชนาการ ครั้งที่2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างสำหรับเด็กแรกเกิด-72 เดือน   25 บาท * 50  คน*  1 มื้อ เป็นเงิน 1,250บาท
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ปกครอง เด็กแรกเกิด-72 เดือน 25 บาท * 50  คน * 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็ก 0-72เดือน ลดลงร้อยละ 7 2.เพื่อคัดกรองโภชนาการมากกว่าร้อยละ 95 3. ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและมีความตระหนักมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,570.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็ก 0-72 เดือน ลดลงร้อยละ 7
2. เพื่อคัดกรองโภชนาการเด็กแรกเกิด-72 เดือนร้อยละ 96
3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการมากขึ้น


>