กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน โดยผลสำรวจพบร้อยละ 30.5 มีภาวะน้ำหนักเกินที่ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไปและผู้ที่ถือว่าอ้วนลงพุงมีอยู่ร้อยละ 7.5 ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนนี้มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงทั้งระดับไขมันในเลือดสูงหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองโรคเบาหวานเป็นต้นสำหรับพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ พบว่า มาจากการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนเพื่อให้สามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญคือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยยึดหลัก 3อ.2ส. ประกอบด้วย ออกกำลังกายให้เหมาะสมและเพียงพอ วันละ 30 นาที การบริโภคอาหารให้เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม และปรับอารมณ์ให้ไม่เครียดมากเกินไป ลดการสูบบุหรี่ และลดการดื่มสุราเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดีในทุกด้าน เทศบาลตำบลป่าบอน ตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีสุขภาพที่ดี สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ลดความเสี่ยงการเกิดโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือด จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก 3อ 2ส ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ทำให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3 อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้่าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3 อ 2ส ร้อยละ 90

70.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน

ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคที่สามารถป้องกันได้ ร้อยละ 50

70.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2 ส.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2 ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1 ผู้สูงอายุ 1. อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1) ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3.600 บาท 2) ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม เจ้าหน้าที่ และทีมวิทยากร จำนวน 105 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 70 บาท เป็นเงิน 7.350 บาท 2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5.250 บาท 3) ค่าป้าย จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร เป็นเงิน 600 บาท
2. ตรวจสุขภาพโดยการ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1) ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1.000 บาท2) ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดัน จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,300 บาท รวมเป็นเงิน 21,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 3อ 2ส ที่ถูกต้อง
2.ผู้เข้าอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน


>