กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะ ลดขยะ ลดพาหะนำโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

คณะกรรมการหมู่บ้านบ้านรัดปูน หมู่ที่ 2ตำบลเชิงแส

บ้านรัดปูนหมู่ที่ 2 ตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนประสบ เพราะสิ่งแวดล้อมถูกประชาชนทำลายไปมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งขยะเป็นปัญหาหลักของสิ่งแวดล้อมที่ยากที่จะแก้ไข และสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้างหรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลอง ก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลมากมาย และสำหรับการทิ้งขยะ ลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ เมื่อมีขยะก็จะรวมกันกำจัดไปในคราวเดียวกัน ขยะมูลฝอยขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม การนำขยะไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 1.อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2.น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ 3.แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน คณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านรัดปูน จึงเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม และต้องสร้างจิตสำนึกของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป พร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์มาก พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง

ประชาชนร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

0.00
2 เพื่อลดพาหนะนำโรคในชุมชน อันเป็นผลพวงจากขยะ เช่น หนู และแมลงต่าง ๆ

พาหนะนำโรคลดลงร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ประชาชนร้อยละ 90 มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะดูแลสิ่งแวดล้อม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจร และ พาหะนำโรคจากขยะที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจร และ พาหะนำโรคจากขยะที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ประชาชนหมู่ที่ ๒ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆเพื่อแสวงหาแหล่งทุนและความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการขยะอย่างครบวงจร
  2. ประชาชนหมู่ที่ ๒ ร่วมกันรณรงค์ จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน และชุมชนให้น่าอยู่ เน้นปลุกจิตสำนึกให้ตระหนักในการรักษาความสะอาด
  3. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัตการ การจัดการขยะอย่างครบวงจร และ พาหะนำโรคจากขยะที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แก่ประชาชนหมู่ที่ ๒  ครัวเรือนละ 1 คน จำนวน  50  ครัวเรือน  เพื่อให้สามารถดำเนินการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง และถูกหลักการตามแนวทางการจัดการขยะแบบครบวงจร 1.  ค่าอาหารกลางวัน พร้อมเครื่องดื่ม  จำนวน  50  คน ๆ ละ 60 บาท  เป็นเงิน   3,000  บาท

  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  50 คน ๆ ละ 25  บาท  จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  2,500 บาท

  5. ค่าตอบแทนวิทยากร   จำนวน  5  ชั่วโมง ๆ ละ 600  บาท   3,000  บาท

4.  ค่าป้ายไวนิลโครงการ  ขนาด  1.2 x2.4  เมตร  จำนวน  1  ผืน  เป็นเงิน   432  บาท

5.  ค่าอุปกรณ์สาธิต  ตะแกรงขยะแยกประเภท  จำนวน  1  ชุด    ถังหมัก  จำนวน  1  ถัง   กากน้ำตาล  จำนวน 5  ลิตร  เป็นเงิน    10,000  บาท

6.  เอกสารประกอบการฝึกอบรม  จำนวน  50  ชุด  ๆ ละ  30  บาท  เป็นเงิน  1,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20432.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,432.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง
๒. ลดพาหนะนำโรคในชุมชน อันเป็นผลพวงจากขยะ เช่น หนู และแมลงต่าง ๆ
๓. ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม


>