กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยะรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อม ทต.ตะโหมด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด

เทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ และเพื่อเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาขยะ ซึ่งส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อคนในชุมชน และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะจากครัวเรือน รู้จักการนำขยะบางอย่างนำกลับมาใช้ใหม่ และสามารถใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย สร้างมูลค่าจากสิ่งของเหลือใช้ นำขยะไปทำเป็นปุ๋ย เป็นต้น และเป็นการตัดวงจรชีวิตของพาหะนำโรค อีกทั้งยังไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ ในชุมชนจึงได้จัดโครงการขยะรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตะโหมดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ในการคัดแยะขยะมูลฝอยตามหลัก 3RS ได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้คัดแยกขยะมูลฝอยตามหลัก 3RS ได้อย่างถูกต้อง

50.00 20.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักรับผิดชอบในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

ประชาชนมีความตระหนักรับผิดชอบในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางร่วมกัน

60.00 20.00
3 เพื่อให้ประชาชนปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุโรค

สภาพแวดล้อมสะอาด ปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ุโรค

50.00 20.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนทุกครัวเรือนกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยตนเอง

มีครัวเรือนต้นแบบในการกำจัดขยะอินทรีย์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกแกนนำและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะด้วยหลัก 3RS

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกแกนนำและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะด้วยหลัก 3RS
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ประสานงานกับชุมชน เพื่อคัดเลือกแกนนำ 2) จัดอบรมแกนนำเพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่ครัวเรือน จำนวน 40 คน มีค่าใช้จ่าย 1. ค่าวิทยากร เป็นเงิน 3,600 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่จำนวน 45 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน 3,150 บาท 3. ค่าอาหารว่าง สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 45 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 2,250 บาท 4. ค่าป้ายและป้ายรณรงค์ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,800 บาท 5. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปากกา กระเป๋าผ้า ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,800 บาท 3) จัดทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดการขยะมูลฝอยและการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้ง 8 ชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 2 ศึกษาดูงานการจัดการขยะมูลฝอยพื้นที่ต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาดูงานการจัดการขยะมูลฝอยพื้นที่ต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) นำแกนนำศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการขยะมูลฝอยเขตพื้นที่ใกล้เคียงที่ประสบผลสำเร็จ มีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 45 คน จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คน1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,150 บาท3. ค่าของขวัญที่ระลึก เป็นเงิน 1,500 บาท4. ค่าจ้างเหมารถตู้ 1 คัน เป็นเงิน 2,800 บาทรวมเป็นเงิน 9,400 บาท 2) วิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ เพื่อนำมาปรับใช้ในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

กิจกรรมที่ 3 ครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
ครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ ให้ความรู้ครัวเรือนและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย ส่งเสริมการกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1) ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วม จำนวน 8 ชุมชน ๆละ 20 คน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2) จัดซื้อถังเพื่อจัดทำถังกำจัดขยะอินทรีย์ เป็นเงิน 12,000 บาท รวมเป็นเงิน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้สามารถคัดแยกขยะมูลฝอยด้วยหลัก 3RS ได้อย่างถูกต้อง
2.ประชาชนตระหนัก และมีส่วนรวมในการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง
3.สภาพแวดล้อมสะอาด เอื้อต่อการอยู่อาศัย ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่าง ๆ ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี
4. ครัวเรือนสามารถกำจัดขยะอินทรีย์ได้ด้วยตนเอง


>