กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

1.นางนฤมล โต๊ะหลัง
2.นางอารีนี หมัดสะแหละ
3.นางเบญจมาภรณ์ หลีเส็น
4.นางสุกัญญา ลัสมาน
5.นางสาวมุณา กฤติยาสกุล

ชุมชน ม.1,ม.4 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนต้องรีบเร่งแข่งขันกับเวลาทำให้ขาดการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ส่งผลให้เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้สาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย กินผักผลไม้ที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด ความเครียดและการสูบบุหรี่ เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปทุกรายที่ไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยการ การวัดความดันโลหิต การตรวจน้ำตาลในเลือด การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ โดยประชาชนที่เสี่ยงหรือป่วยถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคไตวาย ตาบอด โรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกได้
จากผลการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ใน ม.1 และ ม.4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปี 2563 ผลงานการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 947 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 9.61 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 1.69 และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 844 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 16.59 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 3 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตรายใหม่ จำนวน 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มเสี่ยงสูง ถ้ากลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคดังกล่าวได้ และการดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วย ทางโรงพยาบาลส่งส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 35 คน โรคเบาหวาน 19 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 80 คน รวมทั้งหมด 134 คน ซึ่งเป็นกลุ่มป่วยที่ต้องได้รับการดูแล และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน อ.เมือง จ.สตูล ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังได้ และภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ 2ส

ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีค่าระดับน้ำตาล,ค่าความดันโลหิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ลดลงจากการตรวจครั้งแรก ติดตามหลังการอบรม 3 เดือนและ 6 เดือน)

60.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

100.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
1.2ให้หนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรม
1.3ดำเนินกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
-ตรวจสุขภาพ ชั่ง นน.,วัดความดันโลหิต,ตรวจเบาหวาน,คำนวณ BMI ของผู้เข้ารับการอบรม
-ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
-ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการปฏิบัติตัว
-สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
-กิจกรรมเวียนฐานความรู้ แบ่งเป็น 3 ฐาน (ฐานที่ 1.อาหารเพื่อสุขภาพและ Model อาหาร ฐานที่ 2.ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย ฐานที่ 3.การผ่อนคลายความเครียด)
-ประเมินความรู้หลังการอบรม
-หลังการอบรม แจ้งแผนออกติดตาม ประเมินและตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำทุก 3 เดือนและ 6 เดือน โดย อสม.
-ออกติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพ นัดติดตามผลและส่งต่อ โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.
-ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติ ให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย ตรวจรักษา
งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 70 คน มื้อละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน5,250 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 คน มื้อละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าคู่มือดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 เล่ม เล่มละ 20 บาท เป็นเงิน1,400 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม.ในการติดตามกลุ่มเสี่ยง 3 เดือนครั้ง จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 25 คน มื้อละ 25 บาท * 2 วัน เป็นเงิน1,250บาท
-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตในการติดตามกลุ่มเสี่ยงหมู่ละ 1 เครื่องจำนวน 2 หมู่บ้าน เครื่องละ 2,950 บาทเป็นเงิน 5,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลงจากปีก่อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17300.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ให้หนังสือเชิญกลุ่มป่วยโรคเบาหวานเข้ารับการอบรม
2.2 จัดทำเอกสารคู่มือในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2.3 ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
2.4 ฟื้นฟูความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัว และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
2.5 ฝึกทำสปาเท้า
2.6 ประเมินความรู้หลังการอบรม
2.7 เยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตไม่ได้
งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน ประชาชนกลุ่มป่วยจำนวน 50 คน มื้อละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน3,750 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชาชนกลุ่มป่วยจำนวน 50 คน มื้อละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าคู่มือดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มป่วย จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 20 บาทเป็นเงิน1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปีก่อน
3.การเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยลดลง


>