กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดโรคลดพุงหุ่นดี ปี 3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

นางกรุรา วิสโยภาส
นายเสริม ขวัญนุ้ย
นานันทภรณ์ รุยันต์
นางหนูพร้อม ด้วงเอียด
นางสาวสิริรัตน์ พรหมมินทร์

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนในตำบลมีภาวะเสี่ยงของโรคอ้วน

 

42.75
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

40.00

ภาวะอ้วนหรือโรคอ้วน มีโอกาสเกิดขึ้นกับบุคคลได้ทุกคน ในปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริงของการเกิดภาวะอ้วนได้ อย่างไรก็ตามปัจจัเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะอ้วน ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีพลังงานสูง วิถีชีวิตนั่ง ๆ นอน ๆ ขาดกิจกรรมทางกาย ประวัติความอ้วนในครอบครัว อายุที่มากขึ้น รวมท้้งการสูบบุหรี่ และจากนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีนโยบายบริหารระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอ้วนให้ครอบคลุมเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี อีกทั้งจจากการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพในปี 2563 พบว่าประชาชนในตำบลท่ามิหรำ มีภาวะความเสี่ยงของโรคอ้วนเป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 42.75 และจากผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในปี 2563 ในกลุ่มที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถลดความเสี่ยงลงได้มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ถ้ามีความตั้งใจจริง เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านน้ำเลือดกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.ท่ามิหรำ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรค ลดพุง หุ่นดี ปี 3 เพื่อสร้างความตระหนักถึงอัตรายที่เกิดจากโรคอ้วน ซึ่งอาจจะำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ตามมา เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง รวมทั้ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคอ้วนและการมีสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 20.00
2 เพื่อพัฒนาให้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีการเรียนรู้อย่างถูกต้องในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม

จำนวนคนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการพัมนาด้านความรู้

200.00 100.00
3 เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตามค่าดัชนีมวลกาย ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิตรวมทั้งควบคุมภาวะไขมันในเลือดและมีรอบเอวที่เหมาะสมตามเกณฑ์

จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคลงได้อย่างน้อยร้อยละ 20 ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

200.00 50.00
4 เพื่อให้มีบุคคลต้นแบบ ลดพุง ลดโรค หุ่นดี(สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคได้มากกว่าร้อยละ 40) สามารถเป็นแกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในตำบลท่ามิหรำได้

มีบุคคลต้นแบบ "ลดโรค ลดพุง หุ่นดี " จากกิจกรรมกลุ่มปรับเปลี่นพฤติกรรมฯ อย่างน้อยร้อยละ 40 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

200.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 45
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย ปรับปลี่ยนพฤติกรรมสู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆละ 25 บาท จำนน 4 ครั้ง   เป็นเงิน 1000 บาท - ค่าสมานาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 7200 บาท - ค่าตรวจหาค่าไขมันในเลือด จำนวน 100 คน ๆละ 220 บาท เป็นเงิน 22000 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจไขมันในเลือด และได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดจนมีการเข้าร่วมกิจกรรม ออกกำลังกายร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย
- การออกกำลังกายร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกกำลงกายร่วมกันัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การลดโรค ลดพุง หุ่นดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย - การประเมินภาวะสุขภาพหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินภาวะสุขภาพหลังเสร็จสิ้นโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ได้รับการพัฒนาความรู้ด้านอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณืที่เหมาะสม
2. กลุ่มเสี่ยงรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคได้อย่างน้อยร้อยละ 20 และมีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามาถลดความเสี่ยงต่อโรคลงได้มากกว่า ร้อย
ละ 40
3. มีบุคคลต้นแบบ "ลดโรค ลดพุง หุ่นดี" จากกิจกรรมกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อย ร้อยละ 20


>