กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็ง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ

อาคารอเนกประสงค์บ้านสวนหมาก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

2.00

โรคมะเร็งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในเพศหญิง รายใหม่ปี2559 เป็นมะเร็งเต้านมอันดับ 1 รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็ง
รังไข่ ตามลำดับ ช่วงอายุที่เป็นมะเร็งมากที่สุดคือ 45-65 ปี แม้มะเร็งเต้านมจะเป็นเนื้อร้ายที่ผู้หญิงเป็นมากที่สุด แต่มะเร็งที่คร่าชีวิตหญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 คือ “มะเร็งปากมดลูก”หรือ เอชพีวี HPV (Human Papilloma Virus)ที่เป็นไวรัสที่ก่อมะเร็งปากมดลูก จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และพบอัตราเสียชีวิตถึง 50% ในประเทศไทย แต่ละวันจะมีผู้หญิงไทยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก 18 คน ถือได้ว่าเป็นอัตราสูง ทั้งที่มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมสามารถป้องกันได้ สาเหตุหนึ่งเกิดจากผู้หญิงไทยไม่กล้าออกมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพราะอายอีกทั้งขาดความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ขาดทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้หญิงอายุ 30-60 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในรอบ5ปีที่ผ่านมา (ปี 2560 -2563) จำนวน 373 คน ได้รับการตรวจคัดกรองคัดกรองจำนวน 373 คน คิดเป็นร้อยละ 32.16 ไม่พบอัตราการป่วย และมีผู้หญิงอายุ 30-70 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายและได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมคิดเป็นร้อยละ 95.45,82.86 และ92.58 ตามลำดับ และไม่พบอัตราป่วย (ที่มา: HDC ข้อมูล ณ วันที่ 17 พ.ย. 2563) ในปีงบประมาณ 2564 พบว่าตำบลท่าข้าม มีผู้หญิงอายุ 30-60 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกจำนวน 324 คน หญิงอายุ 30-70 ปี เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 423 คน (ที่มา: HDC ข้อมูล ณ วันที่ 17 พ.ย. 2563) ซึ่งต้องได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจึงจัดทำโครงการ รู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็ง ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อดำเนินงานอย่างต่อเนื่องหลังจากได้อบรมในรอบปีที่ผ่านมา อีกทั้งเพิ่มกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตลอดจนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและอสม. กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง โดยอสม. ช่วยติดตามกลุ่มเป้าหมาย มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และให้ความรู้ในคัดกรองมะเร็งเต้านมในชุมชน กรณีพบความผิดปกติ สามารถส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้หญิงที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกคลอบคลุมมากขึ้น
2.เพื่อให้ผู้หญิงที่มีอายุ 30 – 70 ปี ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
3.เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด
1.ผู้หญิงที่มีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
2.ผู้หญิงที่มีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80
3.ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้หญิงอายุ 30-70 ปี 72
แกนนำอสม. 8

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็ง ประจำปี 2564

ชื่อกิจกรรม
รู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็ง ประจำปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมโดยนำผู้หญิงที่มีอายุ 30-70 ปีและแกนนำอสม.จำนวน 80 คน เพื่อจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1 วัน ค่าใช้จ่าย

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 80 คน x 25 บาทx 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม80 คน x 50 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าไวนิลเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าเอกสารในการอบรม เป็นเงิน 3,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 80 คน x 25 บาทx 2 มื้อ      เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม  80 คน x 50 บาท x 1 มื้อ                  เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าไวนิล                                 เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าเอกสารในการอบรม                                      เป็นเงิน 3,200 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้หญิงอายุ 30 -60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น
2. ผู้หญิงอายุ 30 -70 ปี สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
3. ผู้หญิงที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และพบความผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ ดูแล และติดตามอย่างเหมาะสม
4. เครือข่ายและอสม.มีส่วนร่วมในการติดตาม และดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน


>