กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารดีมีคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. นายสมพงษ์ทองใบเพ็ชร โทรศัพท์ 084-7485051
2. นางสมใจพรมทองบุญ โทรศัพท์ 089-5992624
3. นางสุมารินแก้วทองราช โทรศัพท์
4. นางพจนาแก้วได้ปาน โทรศัพท์
5. นางพรรษาคงเพ็ชรศรี โทรศัพท์
6. นางสาวศศิรังษีสว่าง โทรศัพท์ 096-9422577

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ต.วังใหญ่ อ.เทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันเหลือ

 

60.00
2 ร้อยละนักเรียนชอบทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวานไม่มีประโยชน์เป็นประจำ

 

80.00
3 ร้อยละนักเรียนที่น้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์

 

10.00
4 ร้อยละผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็ก

 

20.00

การจัดอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีเด็กเล็กระดับก่อนวัยเรียน เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตในทุกด้านคือทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาการบริการอาหารกลางวันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับเด็กเล็ก เพราะการรับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีการจัดทำอาหารกลางวันที่มีรสชาติพอดี ไม่หวานจัด ไม่เค็มจัดและไม่ใส่สารปรุงรสและมีอย่างเพียงพอต่อความต้องการบริโภคอาหาร จะทำให้เด็กเล็กมีสุขภาพดีและแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค เมื่อเด็กเล็กมีสุขภาพและพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงย่อมส่งผลให้เด็กเล็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเล็กให้มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้นช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ในฐานะเป็นผู้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อช่วยสนับสนุนให้เด็กๆ อายุ 2-6 ขวบ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับอาหารกลางวันที่มีรสชาติพอดี ไม่หวานจัด ไม่เค็มจัดและไม่ใส่สารปรุงรสที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนและเหมาะสมกับวัย อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ และนอกจากนั้นยังจัดการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ตามศูนย์เด็กเล็กต่างๆ ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับหลักโภชนาการ พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กไม่ได้รับประทานอาหารกลางวันและภาวะทุพโภชนาการถือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ จะต้องเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐หมวด ด บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้และ คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และสอดคล้องกับพะราชกิจจานุเบกษาประกาศ คณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เรื่องบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่พ.ศ. ๒๕๕๗ กิจกรรมบริการสาธารณสุขตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตามประกาศแนบท้าย ลงวันที่ มีนาคม ๒๕๕๗ ข้อ ๓ กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนและระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพกองทุนตำบลวังใหญ่ เรื่องการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๖๑ ข้อ ๑๐ (๑) ผลการดำเนินโครงการฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดคลองยอ พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน ๔๐ คน มีน้ำหนักและส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๑๐ นักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันเหลือ ร้อยละ ๖๐ นักเรียนที่ชอบทานขนมขบเคี้ยว ลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวานไม่มีประโยชน์ ร้อยละ ๘๐ ซึ่งนับเป็นโครงการฯที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารของเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดคลองยอซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ มีความมุ่งหวังเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ดีมีคุณค่าทางโภชนาการและครบ ๕ หมู่ มีพัฒนาการสมวัยมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญา ฉลาดสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันเพิ่มขึ้น

ร้อยละของเด็กนักเรียนที่รับประทานอาหารกลางวันเหลือลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เป็นประจำ

ร้อยละเด็กนักเรียนเลิกรับประทานขนมขบเคี้ยวลูกอมรสหวานและเครื่องดื่มรสหวานไม่มีประโยชน์

80.00 0.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ร้อยละนักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

10.00 0.00
4 เพื่อเพิ่มผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็ก

ร้อยละผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้น

20.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 40
แม่ครัว 1

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานภาวะโภชนาการในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลพื้นฐานภาวะโภชนาการในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ติดตามภาวะโภชาการเด็กนักเรียน ทุก 3 เดือน
  2. จัดทำแบบสำรวจเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง เกี่ยวกับพฤติกรรมการการรับประทานอาหารของเด็กนักเรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน

งบประมาณ

  • ค่าถ่ายเอกสาร 40 คน คนละ 20 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 800 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 เครื่อง ราคา 4000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ข้อมูลภาวะโภชนาการในเด็ก
  2. ได้ข้อมูลพฤติกรรมการการรับประทานอาหารของเด็กนักเรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ครูและผู้รับผิดงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ครูและผู้รับผิดงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการอาหารดีมีคุณภาพ (จำนวน 20 คน)

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม (20 คน x 25 บาท) เป็นเงินทั้งสิ้น 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนการดำเนินโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้เด็กผู้ปกครอง และแม่ครัว ด้านโภชนาการ และสาธิตการทำอาหารดีมีประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เด็กผู้ปกครอง และแม่ครัว ด้านโภชนาการ และสาธิตการทำอาหารดีมีประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเรื่องโภชนาการโดยนักโภชนาการ

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน (วิทยากรภายใน)
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเป้าหมายและผู้ดำเนินงานจำนวน 81 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2025 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม 45 คน ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2700 บาท
  • ค่าสนับสนุนการจัดนิทรรศการ 1500 บาท
  • ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ และวัตถุดิบในการสาธิตการทำอาหารเด็ก จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่า roll up จำนวน 2 อัน อันละ 1000 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและแม่ครัวมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9725.00

กิจกรรมที่ 4 ปีศาจขนมหวาน

ชื่อกิจกรรม
ปีศาจขนมหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของขนมหวาน ผ่านสื่อวีดีทัศน์นิทานและเกมส์

งบประมาณ

  • จัดหาสื่อนิทาน ชุดกุ๋งกิ๋ง (กุ๋งกิ๋งปวดท้อง / กุ๋งกิ๋งปวดฟัน) 8 เล่ม จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 1000 บาท
  • เอกสารประกอบการให้ความรู้เรื่องอาหารหลัก ๕ หมู่ เป็นเงิน 100 บาท
  • บัตรภาพเกี่ยวกับอาหารเป็นเงิน 1000 บาท
  • โมเดลตัวอย่างอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ให้โทษ 2500 บาท
  • เล่นเกมส์ตอบคำถาม แลกของรางวัลเป็นแปรงสีฟัน 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กรู้จักกินอาหารดีมีประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 5 ชวนน้องออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ชวนน้องออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสริมสร้างสุขภาพเด็กให้มีสุขภาพที่ดี ให้เด็กตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

งบประมาณ

  • ฮูลาฮูบ จำนวน 5 อัน อันละ 350 บาท เป็นเงิน 1750 บาท
  • ยางวง เส้นใหญ่ จำนวน 1 ถุง เป็นเงิน 100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับการกระตุ้น ให้มาออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพได้สมบูรณ์แข็งแรง และรับประทานอาหารได้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

กิจกรรมที่ 6 ออกกฎกติกา ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ออกกฎกติกา ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ห้ามผู้ปกครองนำขนมที่ไม่มีประโยชน์ ให้นักเรียนนำติดตัวมาโรงเรียน

งบประมาณ

  • ค่าไวนิล ขนาด 1.5 x 2.2 เมตร จำนวน 1 ชิ้น ราคา 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนไม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ภายในโรงเรียนและปฏิบัติตามกฎกติกาของโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามประเมินผลโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน
  2. เด็กนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันเหลือลดลง
  3. ไม่มีนักเรียนนำอาหารที่ไม่มีประโยชน์มารับประทานอาหารภายในโรงเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 คืนข้อมูลโครงการอาหารดีมีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ให้กับผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลโครงการอาหารดีมีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ให้กับผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ปกครองได้รับข้อมูลภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,875.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100
2. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 100
3. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 100
4. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ รับประทาอาหารกลางวันเหลือลดลง ร้อยละ 30
5. มีการโดยใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch ในศูนย์พัฒนาเด้กเล็กบ้านวังใหญ่


>