กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชาวท่าข้ามปลอดภัยใช้ยาอย่างสมเหตุผล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ

ห้องประชุมอินทองโรงพยาบาลปะนาเระ/ศูนย์ RDU ต้นแบบตำบลนาเกตุ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยา ผู้สั่งยาตลอดจนการควบคุมตามกฎหมายดังนั้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลาย และการร่วมมือกันจากหลายภาคส่วน
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระมีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 4 หมู่บ้านมีร้านค้าขายของชำ จำนวน12 ร้าน และจากการสำรวจร้านค้าพบว่ามีการจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 2 ร้าน จากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับความรู้เรื่องพิษภัยของยาปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา
จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาในชุมชนมีความชัดเจน จึงได้จัดทำโครงการชาวท่าข้ามปลอดภัยใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งเป็นการให้ความรู้ในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุด ยาสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่ประชาชนในตำบลท่าข้าม และลดปัญหาการใช้ยาโดยไม่จำเป็น
2. เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำRDUในตำบลท่าข้าม
3. เพื่อให้ร้านชำในชุมชนจำหน่ายยาอันตรายลดน้อยลง
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 70 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการใช้ยาสมเหตุผล
2. มีเครือข่ายแกนนำRDUอย่างน้อย 1 ชุมชน/ตำบล
3. ร้อยละ 2๐ ของร้านชำที่เข้าร่วมโครงการไม่มีการจำหน่ายยาอันตราย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการหมู่บ้าน 8
ประชาชนทั่วไป 40
เจ้าของร้านชำ 12
แกนนำอสม. 12

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายจำนวน  72  คน  โดยใช้เวลาในการอบรม จำนวน  2  วัน  มีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหาร   (72 คนx 50 บาท x 2 มื้อ)  เป็นเงิน  7,200.- บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  (72 คน x 25 บาท x 4 มื้อ)   เป็นเงิน  7,200.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมศึกษาและเรียนรู้ RDU ต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมศึกษาและเรียนรู้ RDU ต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำแกนนำ จำนวน  20  คน ไปศึกษาและเรียนรู้  RDU ต้นแบบ ณ  RDU ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธ์  จังหวัดปัตตานี โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าวิทยากร   จำนวน  30 ชม. ๆ ละ 400.- บาท    เป็นเงิน  1,200.- บาท 2. ค่าอาหาร  (20 คน x 50 บาท)   เป็นเงิน  1,000.- บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  (20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ)    เป็นเงิน  1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อรณรงค์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล  โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าสือประชาสัมพันธ์ เช่น ป้าย แผ่นพับ และสื่อต่าง ๆ    เป็นเงิน  12,200.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาจากการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาจากการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมแกนนำ จำนวน 20 คน  เพื่อรับทราบปัญหาและช่วยกันคิดหาวิธีการแก้ไข และประเมินผลการจัดทำโครงการ  โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหาร  (20 คน x 50 บาท)     เป็นเงิน  1,000.- บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   (20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ)  เป็นเงิน  1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในตำบลท่าข้ามมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องการใช้ยา
2. ร้านขายของชำในชุมชนไม่มีการจำหน่ายยาชุดยาปฏิชีวนะ และยาสเตียรอยด์
3. มีเครือข่ายแกนนำ RDU ต.ท่าข้ามจำนวน1ชุด


>