กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนร่วมใจป้องกันโรคติดต่อ (02-06)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

อสม.รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

1…นางเสาร์แก้วเจะแม
2…นางมาพูเซาะบาราเฮง
3…นางสาวเจะแย แวนิซอ
4…นางหะมิด๊ะ กามา
5…นายดอเลาะ ภิบาลแบ

ม. 1,8,11,13 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในปี 2563 มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี มีจำนวน 10 รายและไข้มาลาเรียทั้งสิ้น 5 ราย สาเหตุโดยหลักจากยุงลายและยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเกี่ยวข้องกับป่าเป็นส่วนใหญ่และมีการป้องกันตนเองไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
ดังนั้น การพ่นติดฝาผนังและการเจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรียจึงเป็นวิธีที่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เพื่อที่จะให้ได้รับการรักษาทันที โรคไข้มาลาเรียจะมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่มอายุ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมปัญหาดังกล่าว(ทำต่อเนื่องปี2563) จึงมีการจัดทำโครงการ เพื่อรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียขึ้น และเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนำโดยแมลงและป้องกันการระบาดซ้ำ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 64
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/11/2020

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมและอบรม อสม. เรื่องการ เจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมและอบรม อสม. เรื่องการ เจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมและอบรม อสม. เรื่องการ เจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรีย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2563 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดประชุมและอบรม อสม. เรื่องการ เจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรีย  64 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12420.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรียรายใหม่พ่นติดฝาผนังและพ่นUIV

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรียรายใหม่พ่นติดฝาผนังและพ่นUIV
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรียรายใหม่พ่นติดฝาผนังและพ่นUIV

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤศจิกายน 2563 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรในพื้นที่ ม. 1,8,11,13

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39315.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,735.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
2.ประชาชนมีความรู้และเข้าใจในการป้องกันไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย
3.ประชาชนที่ได้รับการเจาะเลือดและพบเชื้อมาลาเรีย ได้รับการรักษาทันที


>