กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย (02-04)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

อสม.รพ.สต.บ้านทรายแก้ว

1.นาง อายีซ๊ะ อีแต
2.น.ส.สุไรยา เจ๊ะหามะ
3.น.ส.อนงค์ บุญราช
4.น.ส.รูหาณีย์ สาเหาะ
5.น.ส.เซาเราะห์ สาและ

ม. 3,4,12 ต.ตลิงชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

โรคมาลาเรีย พบมากในเขตพื้นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมที่ทำให้เชื้อแบ่งตัว ได้แก่ เขตร้อนแต่การกระจายของเชื้อโรคอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากโลกมีอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของประชากร สำหรับประเทศไทยจะพบเชื้อได้ทั่วไป ยกเว้นกรุงเทพฯ เชื้อมีมากในป่าเขาในจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทยพบว่ามีเชื้อ พี.ฟาลซิปารัม (P.falciparum) 70%พี.ไวแวกซ์(P.vivax) 50% ตัวพาหะที่นำโรคมาลาเรียคือยุงก้นปล่อง (ตัวเมีย) ซึ่งเรียกอย่างนี้เพราะว่าเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใสไหลเอื่อยๆ หลังจากกัดคน แล้วจะเกาะที่ฝาบ้าน แต่ในปัจจุบันมีการปรับตัวคือหลังจากกัดคนแล้วจะไม่เกาะฝาบ้านและจะกัดคนนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำ
โรคไข้มาลาเรีย ยังคงเป็นปัญหาของหมู่บ้าน บ้านลีเง๊ะ หมู่ที่ 3,บ้านบายิ หมู่ที่ 4 และบ้านหาดทราย หมู่ที่ 10 ต.ตลิ่งชัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเกี่ยวข้องกับป่าเป็นส่วนใหญ่และมีการป้องกันตนเองไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย
ดังนั้น การเจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรีย จึงเป็นวิธีที่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้รวดเร็ว และส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาทันที

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวัสดุอุปกรณ์การเจาะเลือด
- เข็มเจาะเลือด safety lancet SLOB (1 กล่อง 100 ชิ้น)
  จำนวน 72 กล่องๆละ 120 บาท = 8,640 บาท - สไลด์ (1 กล่อง 72 ชิ้น) จำนวน 72 กล่องๆละ 90 บาท = 6,480 บาท - ถุงมือ จำนวน 18 กล่องๆละ 130 บาท = 2,340 บาท - สำลีก้อน (40g) จำนวน 36 ถุงๆละ 28 บาท = 1,008 บาท - แอลกอฮอล์ (450ml) จำนวน 36 ขวดๆละ 50 บาท = 1,800 บาท 2.ค่าชดเชยน้ำมันสำหรับ อสม.ในการลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วย
  จำนวน 60 คนๆละ 50 บาท x 2 วัน = 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียรายใหม่  200 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26268.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,268.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้ลดการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้ถูกต้อง
3. ประชาชนที่ได้รับการเจาะเลือดและพบเชื้อมาลาเรีย ได้รับการรักษาทันที


>