กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ที่ 5 บ้านบูเกะ

1. นางซาลือมามะยูนุประธาน0612846921
2. นางสาวนูรกาตีนี เจ๊ะดอเลาะรองประธาน0935947801
3. นางสาวนูรไอนิง มะยูนุกรรมการ 0847567070
4. นางสาวซานีลา แวเต๊ะกรรมการ 0612255405
5. นางสาวฮัสลีมา มะดีเยาะ เหรัญญิก 0635277728

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

แผนพัฒนาเศรษฐ์กิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10( พ.ศ.2550-2554 )ได้ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยบรรจุเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคน คือ “ลดอัตราการเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ 5 อันดับโรคแรก คือ หัวใจความดันโลหิตสูงเบาหวานมะเร็ง หลอดเลือดสมอง และภาวะอ้วนลงพุง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสุขภาพ” เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมการบริโภคปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต
โรคไม่ติดต่อเป็นโรคเรื้อรังที่ป้องกันได้โดยประชาชนจะต้องดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเช่น พฤติกรรมการบริโภค/การควบคุมน้ำหนักการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียดนอกจากนี้การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการคัดกรองภาวะสุขภาพเช่น การตรวจวัดระดับความดันโลหิตการคัดกรองสหปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค อัมพฤษ์ อัมพาตการวัดรอบเอว การวัดค่าดัชนีมวลกาย เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยเฉพาะในปีงบประมาณนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนโยบายการคัดกรอง ได้ให้มีการเร่งรัดคัดกรองประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเรื้อรังกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ และมักไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว เนื่องจากไม่มีอาการแสดงให้ทราบ ผู้ป่วยมักจะได้รับการวินิจฉัยอาการป่วยจากแพทย์ เมื่อมีภาวะแทรกแล้วซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและสร้างภาระต่างๆ ต่อครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยอย่างมหาศาลวิธีการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพเชิงรุกในหมู่บ้าน/ชุมชน ถือเป็นวิธีการที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และเป็นการค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน ฯลฯ ในระยะเริ่มต้น
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเรื้อรัง ได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคดังกล่าวดังนั้นทางชมรมอามาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะจึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกล เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ตำบลมูโนะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน/โรคหัวใจและหลอดเลือดตลอดจนตระหนักและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองครอบครัวและชุมชนร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป  90 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น และได้รับความรู้ในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดัน/เบาหวาน

994.00 950.00
2 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ระยะเริ่มต้น ร้อยละ50ของกลุ่มเสี่ยงสูง (pre-DM, pre-HTและอ้วนลงพุง) ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส. และสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองความดัน /เบาหวาน ที่พบภาวะเสี่ยง ได้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดภาวะการณ์เกิดโรคความดัน/ เบาหวานและ อ้วนลงพุง ร้อยละ 50และสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

90.00 60.00
3 เพื่อให้กลุ่มป่วยและผู้ดูแลมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 40 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 50 สามารถควบคุมระดับความดันได้

กลุ่มป่วยและผู้ดูแลมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 40 และกลุ่มป่วยความดันสามารถควบคุมระดับความดันได้ร้อยละ 50

203.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มป่วย HT DM 20
กลุ่มเสี่ยงต่อ HT DM 20
ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป 500

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด และให้ความรู้ในรูปแบบคลินิกสัญจร หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด และให้ความรู้ในรูปแบบคลินิกสัญจร หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์กิจกรรมขนาด1.50x2.40เมตรจำนวน 1แผ่น x 900 บาทเป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตสูง เครื่องละ 2,500 บาท จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักคำนวณดัชนีมวลกาย เครื่องละ2,500 บาท จำนวน 1 เครื่อง
    เป็นเงิน2,500 บาท -ค่าแผ่นตรวจค่าน้ำตาลในเลือด จำนวน 15 กล่อง กล่องละ 530 บาท เป็นเงิน7,950 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16350.00

กิจกรรมที่ 2 ป่วยอย่างมีสุข ห่างไกลภาวะโรคแทรกซ้อน หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ

ชื่อกิจกรรม
ป่วยอย่างมีสุข ห่างไกลภาวะโรคแทรกซ้อน หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิลกิจกรรมขนาด1.50x2.40เมตร  จำนวน 1แผ่น x 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมจำนวน 20 คน x 25 x 2 มื้อ      เป็นเงิน 1,0 00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันในการจัดอบรมจำนวน20คน x 50 บาท x 1 มื้อ        เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าวิทยากร ชม. ละ 600 x 6 ชม.                                                   เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 กลุ่มเสี่ยงรวมใจ ต้านภัยโรค NCD ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก DPAC หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเสี่ยงรวมใจ ต้านภัยโรค NCD ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยหลัก DPAC หมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมจำนวน 20 คน x 25 x 2 มื้อ      เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันในการจัดอบรมจำนวน20คน x 50 บาท x 1 มื้อ        เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าวิทยากร ชม. ละ 600 x 6 ชม.                                                                      เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำไวนิลกิจกรรมขนาด1.50x2.40เมตร  จำนวน 1แผ่น x 900 บาท  เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,350.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในหมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคความดัน/เบาหวาน/อัมพฤษ์/อัมพาตโรคอ้วนลงพุงและหลอดเลือดหัวใจ
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงในหมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ได้รับการคัดกรองครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ถูกต้อง ตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3. ประชากรกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังในหมู่ที่ 5 บ้านบูเกะ ผู้ป่วย/ผู้ดูแล สามารถดูแลตนเองในการป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยง เพื่อลดความรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน


>