กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

เฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรพื้นที่หมู่ที่ 1, 8 ,9 ,10 และ หมู่ที่ 11 ตำบลชัยบุรี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชัยบุรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรพื้นที่หมู่ที่ 1, 8 ,9 ,10 และ หมู่ที่ 11 ตำบลชัยบุรี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชัยบุรี

รพ.สต.บ้านปากสระ

หมู่ที่ 1, 8 ,9 ,10 และ หมู่ที่ 11 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศเกษตรกรรมประเทศหนึ่ง ที่สามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรสำหรับบริโภคภายในประเทศได้อย่างพอเพียง อีกทั้งยังมีผลผลิตส่งเป็นสินค้าออก นำเงินรายได้เข้ามาเพื่อพัฒนาประเทศในแต่ละปีคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จึงทำให้เกษตรกรมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีการเพิ่มผลผลิตที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตรายและวิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประกอบกับศัตรูพืชมีการดื้อยา จึงมีการใช้สารเคมีแรงขึ้น มีความเข้มข้นสูงขึ้น ใช้บ่อยครั้งมากขึ้น หรือผสมสารเคมี 2 ชนิดขึ้นไป ทำให้ผู้ใช้สารเคมีมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว แนวโน้มสถานการณ์ปัญหาการป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงมีแนวโน้มที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนตำบลบ้านมะกอกใต้มากขึ้น อันตรายจากสารเคมีจะมีผลต่อร่างกายหลายอย่าง อาทิเช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอื่นๆ ซึ่งส่งผลระยะยาวทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ตำบลชัยบุรีเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปี นาปลัง ปลูกผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรในเขตตำบลชัยบุรียังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากสระ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ปี ๒๕64 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือด เพื่อเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

0.00
3 เพื่อให้เกษตรกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง

ร้อยละ 20 ของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงทีมีผลเลือดระดับเสี่ยง ไม่ปลอดภัย มีผลเลือดในระดับที่ดีขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่ากระดาษทดสอบหาปริมาณโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 4 กล่องๆละ 900 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว  (200 อัน/กล่อง) จำนวน 2 กล่องๆละ 400 บาท   เป็นเงิน  800 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 5,000 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 x 2.4เมตร  เป็นเงิน 518 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9918.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี การปรับเปลี่ยนลดการใช้สารเคมี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี การปรับเปลี่ยนลดการใช้สารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างซ้ำครั้งที่ 2 ในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างซ้ำครั้งที่ 2 ในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,918.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับการประกอบอาชีพ ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อให้ตนเองมีความปลอดภัยจากสารเคมี มีสุขภาพดี ไม่มีการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคจากสารเคมี


>