กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำ (01-03)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านกือลอง

ม. 2,9,6 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้านดังนั้น ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองในฐานะผู้บริโภค ด้านสุขภาพอย่างเสมอกันโดยให้ความสำคัญ กับเรื่องสิทธิในฐานะผู้บริโภค ไม่ให้ผู้ใดมาเอารัดเอาเปรียบหรือยัดเยียดให้ซื้อและบริโภคแต่เฉพาะสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้ขายเป็นผู้กำหนดให้ ทั้งชนิด ปริมาณ ราคา และคุณภาพ หรือแม้แต่สิ่งเจือปนด้วยสารพิษอันเป็นการทำลายสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่ง การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้บริการด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ไม่ว่าเป็น อาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยกำหนดสิทธิในการเข้าถึงด้านสุขภาพที่เหมาะสม สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เป็นต้น สถานการณ์ปัจจุบันได้มีสินค้าและการบริการที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ในการดำเนินการด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมา ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทน้อยทำให้ขาดการมีส่วนร่วมและพัฒนาที่ยั่งยืน และการได้รับข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการหรือผู้จำหน่ายสินค้าและบริการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเผ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการด้านสุขภาพที่ถูกต้อง

. ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ  100

100.00 100.00
2 เพื่อให้เจ้าของ ร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอยผ่านการอบรมและสามารถพัฒนา ร้านให้ได้มาตรฐาน

ร้านชำได้รับการพัฒนาศักยภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐานร้อยละ 100

100.00 100.00
3 เพื่อให้ประชาชนพื้นที่ได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และไม่มีสารปนเปื้อน

ประชาชนมีความรู้และสามารถบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพและถูกต้องเหมาะสม

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 24
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อสม.ร่วมกับ จนท.สธ.ลงพื้นที่สำรวจร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย

ชื่อกิจกรรม
อสม.ร่วมกับ จนท.สธ.ลงพื้นที่สำรวจร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม         1.อสม.ร่วมกับ จนท.สธ.ลงพื้นที่สำรวจร้านชำ/ร้านอาหาร/แผงลอย ทุก 3 เดือน          2.อสม.ร่วมกับ จนท.สธ.ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้เจ้าของ ร้านชำเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ          3.อสม.ร่วมกับ จนท.สธ.ลงพื้นที่รณรงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกือลอง
  2. .ค่ายานพาหนะสำหรับ อสม. สำรวจ/ตรวจร้านชำในเขต รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านกือลอง  จำนวน  24  ร้าน  4 ครั้ง  x 50  บาท
    เป็นเงิน 4,800 บาท
  3. แผ่นพับให้ความรู้เรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ จำนวน  500  ใบๆละ  3  บาท  เป็นเงิน  1,500  บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  6,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าในชุมชน จำนวน 24 ร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง
2. ประชาชนมีความรู้และสามารถบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3.ร้านชำในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพปลอดภัยได้มาตรฐานมาจำหน่ายคลอบคลุมร้อยละ 100


>