กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพในสถานศึกษาโรงเรียนประชาบำรุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงเรียนประชาบำรุง

1. นางสาวจีระวรรณ รัตนบุรี
2. นางศิริรักษ์ เกิดขุมทอง
3. นางสาวผิวพรรณ สังข์แก้ว
4. นางหทัยทิพย์ ไชยรัตน์
5. นางสาวนาฎศิลป์ หนูตีด

โรงเรียนประชาบำรุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพร่างกายมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนโดยตรง หากสุขภาพร่างกายของผู้เรียนแข็งแรงและมีจิตใจที่ดีงามพร้อม ย่อมส่งผลให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จได้ในองค์รวม แต่ในปัจจุบันสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงมากขึ้น อีกทั้งยังมีโรคระบาด คือ เชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างมาก ดังนั้นงานเฝ้าระวังและการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลเสริมสร้างให้การเรียนการสอนของผู้เรียนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

ครู บุคลากร นักเรียน ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

20.00 5.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง รณรงค์ และส่งเสริมดูแลสุขภาพอนามัยของครู บุคลากร และเรียน

ครู บุคลากร และนักเรียนได้รับการเฝ้าระวัง และส่งเสริมดูแลสุขภาพอนามัย ปราศจากเชื้อไวรัสโคโรนา ร้อยละ 100

10.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 260
กลุ่มวัยทำงาน 21
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ โดยมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ค่าวิทยากร 1,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 281 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 19,670 บาท 3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 281 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7025 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31195.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม 1 คน 1 กีฬา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 1 คน 1 กีฬา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม 1 คน 1 กีฬา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่าย คือ 1. ค่าน้ำดื่ม 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมนิเทศให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมนิเทศให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมนิเทศให้ความรู้ เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย มีค่าใช้จ่าย คือ
1. ค่าวัสดุ ต่างๆ เช่น หน้าการอนามัย เจลล้างมือ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,195.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครู และบุคลากร มีสุขภาพอนามัยแข็งแรงและห่างไกล COVID-19
2. นักเรียน ครู และบุคลากร มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ


>