กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยใส่ใจแม่และลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

นายเอนก กลิ่นรส ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียว ครบ 6 เดือน ร้อยละ 60

 

60.00
2 เด็กมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90

 

90.00
3 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 88

 

88.00

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๗๔.๑๗ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๗๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๘๕.๔๙(เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดาคลอดที่บ้าน ร้อยละ ๑.๖๗ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยโดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๖ ปี)จะพบว่าพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์๒๐ คนจากเด็กทั้งหมด๕๖๑คนคิดเป็นร้อยละ๓.๕๖ น้ำหนักค่อนข้างน้อย๑๐คนคิดเป็นร้อยละ๑.๗๘ รวมเด็ก ๒ กลุ่ม ๓๐คิดเป็นร้อยละ ๕.๓๔ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ไม่เกินร้อยละ ๗ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการป้องกันและการรักษาหรือหยุดหยุดยั้งโรคก็จะลุกลามนำไปสู่การสูญเสียฟันต่อไปและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุ โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคในช่องปากเป็นปัญหาค่อนข้างสูง คือการเข้าถึงบริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมมากนักการไม่ใส่ใจในการดูแล ป้องกันโรคในช่องปากของตนเองเมื่อเป็นถึงขั้นรุนแรงจึงมาหาหมอเพื่อทำการรักษา จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยใส่ใจดูแลแม่และลูกปีงบประมาณ ๒๕๖๔ นี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆที่กล่าวมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูลูกให้มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

ทารกได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูลูกให้มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

60.00 60.00
2 เพื่อให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน ทุกคน

ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน ทุกคน

60.00 60.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

90.00 90.00
4 เพื่อส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

88.00 88.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 45
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมหญิงวัยเจริญพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 45 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  4. เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กพร้อมที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 7,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 11 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ มีทักษะ ในการเลี้ยงดูบุตร จำนวน 45 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินผลเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 21 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 19 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,100.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ และมีพัฒนาการสมวัยทุกคน
2. ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน ทุกคน
3.เด็กมีพัฒนาการสมวัยทุกคน


>