กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตำบลควนโดนรวมพลัง ร่วมมือ ร่วมใจ ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อผู้พิการและผู้ดูแลมีศักยภาพที่ดี ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตำบลควนโดนรวมพลัง ร่วมมือ ร่วมใจ ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อผู้พิการและผู้ดูแลมีศักยภาพที่ดี ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

ม.2,3,4,6,7,8,9 และ ม.10 ต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้พิการทั้งหมด 175 คน อยู่ในกลุ่มติดเตียง 8 คน กลุ่มติดบ้าน 24 คน กลุ่มติดสังคม 143 คนผู้พิการทั้งหมดสามารถแยกประเภทความพิการดังนี้ 1. การมองเห็น 1 คน 2.การได้ยินและสื่อความหมาย 34 คน 3. การเคลื่อนไหวและร่างกาย 100 คน 4. จิตใจและพฤติกรรม 6 คน 5. สติปัญญา

 

80.00

ความพิการ เป็นสถานะทางสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น การเจ็บป่วย อายุที่มากขึ้น การได้รับบาดเจ็บ ความผิดหวังในชีวิต การหลงผิด การใช้สารเสพติด ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ และอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ในการแก้ปัญหาหรือควบคุมปัญหา ไม่ให้ขยายตัวกว้างขวางและรุนแรงยิ่งขึ้น สามารถกระทำได้ด้วยวิธีการหลักๆ สองประการ คือ การป้องกัน และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในกระบวนการนี้ ควรป้องกันตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม ส่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพ อาจประกอบด้วยการใช้วิธีต่างๆทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนการจัดหาและการบริการกายอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการ และบริการที่สนับสนุนการดำรงชีวิตทั้งคนพิการและช่วยแบ่งเบาภาระแก่ผู้ดูแล
ในพื้นที่ตำบลควนโดน ปี 2561 มีผู้พิการทั้งหมด272 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งมีเพียง 224 คน และในปี 2562 นี้ มีผู้พิการทั้งหมด285 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ในปี 2563 มีผู้พิการทั้งหมด288 คน และในปี 2564 นี้ มีผู้พิการทั้งหมด 298 คน เป็นผู้พิการที่อาศัยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 58.72 และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลควนโดนจำนวน 123 คน คิดเป็น 41.28 ของผู้พิการทั้งหมดในตำบลควนโดน บางส่วนสามารถดำรงชีวิตได้ ปฏิบัติงานช่วยเหลือครอบครัวได้ บางส่วนขาดการรักษามีภาวะความพิการที่ไม่สามารถทำงานได้ เป็นภาระแก่ครอบครัว ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
จากผลการดำเนินงาน ในปี 2562 ผู้พิการและผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในภาวะสุขภาพ แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งทราบถึงชุดสิทธิประโยชน์ ร้อยละ 98 ของกลุ่มเป้าหมาย อีกร้อยละ 2 เป็นผู้พิการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ และจากการประเมินภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 100 ไม่มีภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 85ของกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับวิถีชีวิต พร้อมทั้ง เกิดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ในพื้นที่ 10 เวที ซึ่งเป็นเวทีที่เกิดขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน และเวทีรวมใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จากการดำเนินการ ได้มีข้อเสนอแนะ ให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมาย ด้วยความเข้าใจ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม พร้อมทั้งสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในเรื่องกายอุปกรณ์ การประกอบอาชีพ และการเข้าถึงบริการต่างๆ พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้ง ชมรมผู้พิการตำบลควนโดนขึ้น เพื่อประโยชน์ในการประสานงานและดำเนินการในเรื่องต่างๆของชมรม ซึ่งได้มีการเสนอต่อหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานผู้พิการไปแล้ว และปีนี้จะดำเนินการต่อ
ด้วยเหตุนี้ นับว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่จะต้องดำเนินการแก้ไข โดยการมีส่วนร่วม เพื่อให้กลุ่มดังกล่าว ได้รับบริการที่ครอบคลุมตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยครอบครัว ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงได้จัดทำ โครงการตำบลควนโดนรวมพลัง ร่วมมือ ร่วมใจ ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อผู้พิการและผู้ดูแลมีศักยภาพที่ดี ปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการและ/หรือผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการให้ความช่วยเหลือกายอุปกรณ์ และการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การหาแนวทางการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ และให้กำลังใจ พร้อมทั้งเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งชมรมผู้พิการตำบลควนโดน มีการดำเนินงานจัดตั้งชมรม และมีกิจกรรมชัดเจน

1.ผู้พิการได้รับชุดสิทธิ์ประโยชน์สำหรับผู้พิการ ร้อยละ 100 2.ผู้พิการที่มีความจำเป็น ต้องการการสนับสนุนกายอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนหรือคำแนะนำ ร้อยละ 90 3.ผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพ ได้รับความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ ร้อยละ 50 4.ผู้พิการเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดตั้งชมรมผู้พิการตำบลควนโดน และ เกิดชมรมผู้พิการตำบลควนโดน จำนวน 1 ชมรม

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้พิการ ติดเตียง ติดบ้าน ติดสังคม ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน เสริมแรงใจ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้พิการ โดยทีมเยี่ยมบ้าน

ผู้พิการติดเตียง ติดบ้าน ติดสังคม ที่มีปัญหาสุขภาพและความเป็นอยู่ ได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 175
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพ ผู้พิการและ/หรือผู้ดูแล ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการให้ความช่วยเหลือ สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ กายอุปกรณ์ และการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการดูแลผู้พิการ พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดตั้งชมรม

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ ผู้พิการและ/หรือผู้ดูแล ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการให้ความช่วยเหลือ สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ กายอุปกรณ์ และการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการดูแลผู้พิการ พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดตั้งชมรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม พัฒนาศักยภาพ ผู้พิการและ/หรือผู้ดูแล ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการให้ความช่วยเหลือ สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ กายอุปกรณ์ และการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการดูแลผู้พิการ พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดตั้งชมรมผู้พิการ ตำบลควนโดน
งบประมาณ จัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็น 3 รุ่น แบ่งตามความพิการ รุ่นที่ 1จำนวน 60 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 60 คน รุ่น ที่ 3 จำนวน 55 คน มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายโดยรวม ดังนี้ ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 175 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 8,750 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 175 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 8,750 บาท ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 2 ชม. จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 21,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.การเพิ่มทักษะหรือความสามารถของคนพิการ หรือผู้ดูแลและญาติ
1.1 การพัฒนาทักษะของการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ และการดูแลตนเองของคนพิการ 1.2 การพัฒนาทักษะของญาติ ผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ 1.3 ชี้แจงสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ ในผู้พิการและผู้ดูแล กายอุปกรณ์ และการประกอบอาชีพที่ผู้พิการสนใจ พร้อมคำแนะนำ 2. การพัฒนาระบบบริการ กลไกสนับสนุนการดูแลคนพิการ
2.1 การจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเชิงรุกหรือในชุมชน 2.2 การจัดตั้งหลักสูตรเรียนรู้การดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน 2.3 การปรับประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทย การนวด การกายภาพ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน 3. การจัดตั้ง ชมรมผู้พิการตำบลควนโดน 3.1 เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการจัดตั้งชมรมผู้พิการ โดยผู้มีประสบการณ์การจัดตั้งชมรมฯแก่ผู้พิการหรือตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน 3.2 เกิดการวางแผนร่วมกัน โดยเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดตั้งชมรมผู้พิการตำบลควนโดน
ผลลัพธ์ 1. ผู้พิการ ผู้ดูแล และญาติ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การให้ความช่วยเหลือ สิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ กายอุปกรณ์ และการประกอบอาชีพ ที่ผู้พิการสนใจ ร้อยละ 80 2. ผู้พิการได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ สถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ การให้บริการ และสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้มาใช้กับผู้พิการได้ถูกต้อง ร้อยละ 70 3. เกิดการจัดตั้งชมรมผู้พิการตำบลควนโดน ขึ้น 1 ชมรม และมีการดำเนินกิจกรรม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21100.00

กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติการ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพผู้พิการ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ตำบลควนโดน โดยทีมรักษ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพผู้พิการ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ตำบลควนโดน โดยทีมรักษ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 2 ปฏิบัติการ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพผู้พิการ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ตำบลควนโดน โดยทีมรักษ์สุขภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ทีมรักษ์สุขภาพควนโดน ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน แบ่งลงเยี่ยมบ้าน วันละ 4 หมู่บ้าน เป็นเวลา 2 วัน
- ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 175 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 4,375 บาท - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 5 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน125 บาท (วิทยากรด้านการฟื้นฟูสภาพผู้พิการ 1คน ,เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน 1คน และทีมรักษ์สุขภาพ 3 คน) - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 4 ชม.เป็นเวลา 2 วัน เป็นเงิน2,400 บาท
รวมเป็นเงิน 6,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ปฏิบัติการ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพผู้พิการ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ตำบลควนโดน โดยทีมรักษ์สุขภาพ
ทีมรักษ์สุขภาพควนโดน ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน แบ่งลงเยี่ยมบ้าน วันละ 4 หมู่บ้าน เป็นเวลา 2 วัน ร่วมกับวิทยากร 1 คน และ เจ้าหน้าที่ 1 คน ผลลัพธ์ 1.ผู้พิการติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ตำบลควนโดน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพผู้พิการ ร้อยละ 100 2.ผู้ดูแล/ผู้พิการ สามารถกายภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้พิการและ/หรือผู้ดูแล มีความรู้ ความมั้นใจในการดูแลสุขภาพผู้พิการ อย่างถูกต้อง
2.ผู้พิการและ/หรือผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุดสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ เกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆในผู้พิการ
3.เกิดการจัดตั้งชมรมผู้พิการตำบลควนโดน จำนวน 1 ชมรม
4.ผู้พิการ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ได้รับการดูแลเยี่ยมบ้าน ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ห่วงใยสุขภาพผู้พิการ อย่างทั่วถึง
ผู้ดูแลมีความมั่นใจในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ อย่างถูกต้องเหมาะสม


>