กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแปรงสีฟันอันแรกของหนูอายุ 0-5 ปี (WCC)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด

1. นางเสาวภา ทิมบำรุง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุสิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วยอนุบาลเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฎิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้น ต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ดังนั้นผู้จัดโครงการจึงคิดว่าจะมีการจัดทำโครงการแปรงสีฟันอันแรกของหนูขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักดูแลฟัน และแปรงฟันให้บุตรได้อย่างถูกวิธี โดยเร่มจากกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีฟันและส่งเสริมให้เด็กรู้จักดูแลสุขภาพฟันของตัวเอง จากผลการดำเนินงานทันตสุขภาพในเด็ก อายุ 0-4 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโหมด พบว่า ผู้ผู้ปกครองส
ามารถแปรงฟันให้ลูกได้อย่างถูกวิธี ร้อยละ 96.96 พบเด็กฟันผุร้อยละ 23.75 ซึ่งผลการดำเนินงานในงานทันตสุขภาพยังพบปัญหา พฤติกรรมของผู้ปกครองที่ไม่ยอมแปรงฟันให้บุตร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

ผู้ปกครองมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กร้อยละ 100

80.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กสามารถแปรงฟันที่ถูกวิธีได้

ผู้ปกครองและเด็กทำความสะอาดและแปรงฟันได้ถูกวิธี ร้อยละ 90

80.00 20.00
3 เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0-4 ปี

ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กได้ร้อยละ 90

80.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากในเด็ก และสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีที่มารับวัคซีนในคลินิกเด็กดี โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 120 ด้ามๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 2. ค่าผ้าเช็ดปาก จำนวน 120 ชิ้นๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3. ค่าเอกสารและอุปกรณ์ทำสื่อ เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก
2. เด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
3. เด็กได้รับการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการรักษาความสะอาดช่องปากและฟัน
4. ช่วยลดการเกิดปัญหาทางทันตสุขภาพของชุมชนในอนาคต


>