กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอิสลามียะห์

นางรูซีลาเจ๊ะดอเลาะ โทร. 083-0414595

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอิสลามียะห์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

6.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

6.00
3 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

3.00
4 ร้อยละของผู้ปกครองที่ขาดความรู้เกี่ยวกับโภขนาการเด็กปฐมวัย

 

45.00

โภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตามเด็กปฐมวัย มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร อันเนื่องมาจากสาเหตุการสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่า และยังไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้นโภชนาการที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายต้องการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
อายุระหว่าง 0-6 ปี เป็นช่วงแห่งการปลูกจิตสำนึกการเจริญเติบโต จิตใจและอารมณ์ เช่นเดียวกับทักษะทางกาย มีกานพัฒนาอย่างค่อนข้างรวดเร็ว การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควรและเจ็บป่วยบ่อย ด้วยเหตุนี้ เด็กปฐมวัยจึงควรได้รับประทานอาหารหลักครบ 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลาย วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริมให้เพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ตามที่ร่างกายเด็กต้องการในแต่ละมื้อ แต่ละวัน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนและปลอดภัย จึงจะสามารถป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูภาวะทุพโภชนาการของเด็กได้ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอิสลามียะห์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงจัดโครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเด็กผอม

จำนวนเด็กที่มีภาวะผอม

2.00
2 เพื่อลดภาวะเด็กเตี้ย

จำนวนเด็กที่มีภาวะเตี้ย

3.00
3 เพื่อลดภาวะเด็กที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

1.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภขนาการเด็กปฐมวัย

จำนวนผู้ปกครองที่มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็กปฐมวัย

36.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินและคัดกรองผลการเจริญเติบโต

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและคัดกรองผลการเจริญเติบโต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ครูชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุกๆ 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลจากการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมผู้ปกครองและครู เรื่องโภชนาการเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ปกครองและครู เรื่องโภชนาการเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ปกครองและครู มาประชุมร่วมกัน 1. ประชุมหารือร่วมกับทางคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้อง. 2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง. 3. จัดทำแผนเตรียมวัสดุอุปกรณ์เอกสารสื่อที่ใช้ในการอบรม 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ 5. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 51 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 1,275 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 51 คนๆ 50 บาท เป็นเงิน 2,550 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ - แฟ้มกระดุม 45 เล่มๆละ 15 บาท เป็นเงิน 675 บาท - สมุดปกอ่อน 45 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 450 บาท - ปากกาสีน้ำเงิน 45 ด้ามๆละ 6 บาท เป็นเงิน 270 บาท - ค่าไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 720 บาท 6. ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองได้รับข้อมูลเรื่องโภชนาการเด็กปฐมวัย
  2. เกิดแนวทางร่วมการแก้ปัญหาจากผู้ปกครอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,340.00 บาท

หมายเหตุ :
ผู้ขอรับอุดหนุนจะต้องแสดงรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการแก้ไขในเรื่องโภชนาการ
2. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการเด็กปฐมวัย


>