2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้มาลาเรีย เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งการควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ถือเป็นนโยบายหลักในงานด้านสาธารณสุข โดยการเกิดโรคไข้มาลาเรียนั้น มีสาเหตุมาจากยุงก้นปล่อง ที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่เป็นป่าเขา มีแหล่งน้ำ ลำธารไหลผ่านหลายสาย และสภาพแวดล้อมอื่นๆที่เอื้อต่อการเกิดโรค นอกจากนี้ การประกอบอาชีพต่างๆและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่ได้
จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้มาลาเรียอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอำเภอบันนังสตามีรายงานการเกิดโรค ไข้มาลาเรียในทุกตำบลของพื้นที่ ส่วนในเขตตำบลตลิ่งชัน มีข้อมูลผู้ป่วยสะสม 5 ปีย้อนหลัง (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 – วันที่ 20 ต.ค.2563) จำนวนทั้งสิ้น 999 ราย ซึ่งถือว่าพื้นที่ตำบลตลิ่งชันยังพบผู้ป่วยจำนวนมาก และเป็นปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ สำหรับสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2559 – 2563 ) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ดังนี้ ปี 2559 ผู้ป่วย จำนวน 339 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 8,216.19 ปี 2560 ผู้ป่วย จำนวน 200 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 4,887.58 ปี 2561 ผู้ป่วย จำนวน 10 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 237.13 ปี 2562 ผู้ป่วย จำนวน 7 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 157.09 และในปี 2563 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2563 ) ผู้ป่วย จำนวน 10 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 241.54 ตามลำดับ โดยในปี 2559 พบผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียมากกว่าปีอื่นๆ
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โรคไข้มาลาเรีย ยังคงมีการระบาดในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการแก้ไข ดังนั้น เพื่อให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังการเกิดโรคและควบคุมการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย” ขึ้น
เป้าหมาย1. บ้านทั้งหมด 1,219 หลังคาเรือน โดยแยกเป็น หมู่ 3 จำนวน 551 หลังคาเรือน หมู่ 4 จำนวน 326 หลังคาเรือน
และหมู่ 10 จำนวน 342 หลังคาเรือน
2. โรงเรียน จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านทรายแก้ว, โรงเรียนนิคมฯ5 และโรงเรียนนิคมฯ6
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลมะรูฟจำนวน 1 แห่ง
4. มัสยิด จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย มัสยิดทรายแก้ว, มัสยิดลิเง๊ะ, มัสยิดลีจิง, มัสยิดบายิ และมัสยิดโต๊ะปาแว
5. สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง
พื้นที่ดำเนินการพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2021
กำหนดเสร็จ 31/08/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงจากปีที่ผ่านมา
2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคได้
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ภาคีเครือข่ายในชุมชน/อสม. และประชาชนทั่วไป ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน และสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง