กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด

1. นางอำละ สุภาพ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก
2. นางสาวสุวันนา หยันยามีน สมาชิก
3. นางอารี แสงชู สมาชิก
4. นางมาลี เกิดสุข สมาชิก
5. นางนุชนภางค์ สุเหร็น สมาชิก

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนอายุ 15-34 ปี ที่ได้รับการคัดกรองและพบว่ามีความดันโลหิตสูง

 

47.00
2 จำนวนประชาชนอายุ 15-34 ปี ที่ได้รับการคัดกรองและพบว่ามีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน

 

99.00

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพภายใต้นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากลยุทธ์ที่สำคัญ คือการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายนโยบายการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพจึงจำเป็นต้องดำเนินการในเชิงรุกเพราะนอกจากจะกระตุ้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีแล้วรัฐบาลยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ด้วยด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาพและเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เช่นโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุราการที่ไม่ออกกำลังกายความเครียดโรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนกตำบลคลองขุดมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นและคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีซึ่งในปี 2563 มีจำนวนประชากรในพื้นที่หมู่ที่ 3 ที่ผ่านการคัดกรอง จำนวน 461 คน ผู้ชาย 246 คน และผู้หญิง 215 คนเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คน ผู้ชาย 27 คน ผู้หญิง 20 คน มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน จำนวน 99 คน ผู้ชาย 46 คน ผู้หญิง 53 คน และส่งต่อผู้มีภาวะเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จำนวน 47คน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนกตำบลคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด ปีงบประมาณ 2564 ในกลุ่มประชากรอายุ 15-34 ปี ซึ่งมีประชากรในพื้นที่ 532 คน (ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา))เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้กลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย โดยลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 -34 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรังและความดันโลหิต

ประชาชนอายุ 15 -34 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรังและความดันโลหิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขอย่างน้อยร้อยละ 100

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15-34 ปี

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15-34 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. สำรวจ และรวบรวมข้อมูล ๒. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3. ประชุมชี้แจง แนวทาง  ขั้นตอน รายละเอียดของการดำเนินงานให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ตำบลคลองขุด จำนวน 32 คน 4. คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป และให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 2 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนเกาะนกรวมใจ ชุมชนหลังโรงยางพัฒนา 5. สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องอารมณ์ อาหาร และการออกกำลังกาย โดยรณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เดิน-วิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัยและสภาพร่างกาย งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับประชุมชมรม อสม.หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก 32  คน ๆ ละ  25  บาท จำนวน 1 วัน      เป็นเงิน   800    บาท         2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับชมรม อสม.หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก ในการประชุมวางแผนการคัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening)  32 คน ๆ ละ  25  บาท จำนวน 2 วัน (ชุมชนละ 1 วัน)
                                        เป็นเงิน   1,600    บาท     3. ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 532 ชุด ๆ ละ 2 บาท   เป็นเงิน   1,064   บาท 4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร              เป็นเงิน      360  บาท   
5. ค่าแผ่นพับให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 532 แผ่น ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน  1,064  บาท 6. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง            เป็นเงิน   2,500 บาท 7. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง                เป็นเงิน   1,200 บาท 8. ถ่านอัลคาไลน์สำหรับเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-34 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนก  จำนวนไม่น้อยกว่า 426 คน ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9388.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 2 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนเกาะนกรวมใจ ชุมชนหลังโรงยางพัฒนา
  2. ติดตามและประเมินผล ทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ และติดตามอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน ถ้ายังมีภาวะเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
  3. สรุปและประเมินผลหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดลง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ประชาชนที่มีผ่านการคัดกรองด้วย (Verbal screening) ได้รับการตรวจยืนยันด้วย (DTX Strip test) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาในสถานบริการสาธารณสุขอย่างน้อยร้อยละ 100 3.ประชาชนที่มีความเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และพฤติกรรมเพื่อการลดภาวะเสี่ยง ร้อยละ 60 ของจำนวนประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง 4.ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถควบคุมภาวะเสี่ยงจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,088.00 บาท

หมายเหตุ :
รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
1. ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-34 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านเกาะนกจำนวนไม่น้อยกว่า 426 คน ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรังด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening)
2. ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 90
ผลลัพธ์
1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค
2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย และสามารถลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด


>