กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยห่างไกลโรคฟันผุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

นายเอนก กลิ่นรส ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 3-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

 

80.00

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้
การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสียถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกัน รวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติอาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกัน หรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปากการแปรงฟันที่ถูกวิธีการบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ดังนั้นเพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและเฝ้าระวังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงได้ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงายจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี ร้อยละ 90

เด็กในพื้นที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี ร้อยละ 90

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ สามารถดูแลฟันน้ำนมได้ ร้อยละ 80

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้  ดูแลฟันน้ำนมได้ ร้อยละ 80

80.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุลง ร้อยละ 50

การเกิดโรคฟันผุลง ร้อยละ 50

62.00 62.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ทุกคน

เด็กปฐมวัยได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ทุกคน

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำคู่มือดูแลสุขภาพช่องปาก จำนวน 80 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 ถึง 12 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ ทักษะ ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพในช่องปากพร้อมเคลือบฟลูออไรด์

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพในช่องปากพร้อมเคลือบฟลูออไรด์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 10 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กปฐมวัยได้รับ ตรวจสุขภาพในช่องปาก ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการตรวจสุขภาพในช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการตรวจสุขภาพในช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การตรวจสุขภาพในช่องปากเด็กปฐมวัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2564 ถึง 11 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2564 ถึง 11 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • การเกิดโรคฟันผุลดลง ร้อยละ 50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,400.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กอายุ 10-60 เดือน ที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพฟันดี ร้อยละ 90
- ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความสามารถดูแลฟันน้ำนมได้ ร้อยละ 80
- กลุ่มเป้าหมายได้รับการเคลือบฟลูออไรด์
- อัตราเกิดโรคฟันผุลดลง ร้อยละ 50


>