กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศักยภาพการให้บริการงานทันตกรรมในเด็ก 6-12 ปี (01-26)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี

ม. 1,8,11,13

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรค COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นและเป็นการรักษาความมั่นคงในระบบสาธารณสุขของประเทศ ทางกรมอนามัยออกหนังสือประกาศ เรื่องแนวทางการรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ขึ้น ทั้งนี้ให้แต่ละหน่วยงานและพื้นที่พิจารณาให้การรักษาทาง
ทันตกรรมตามศักยภาพของหน่วยงานนั้น โดยคำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วยและทันตบุคลากรเป็นหลัก ในแง่ของกระบวนการป้องกันโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทาง รพ.สต.บ้านตะบิงติงงีได้หยุดให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นการชั่วคราว ทำให้ประชาชนไม่สามารถรับการบริการรักษาทางทันตกรรมได้
ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องดำเนินการแบบ New normal เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อไป ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะบิงติงงีจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการงานทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยเริ่มจากการคัดกรองผู้ป่วย, การสวมใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเองสำหรับทันตาภิบาลและผู้ช่วยในงานหัตถการที่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย, การล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ, การเตรียมห้องก่อนการรักษา, การให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากก่อนทำหัตถการ, การใช้มาตรการเสริมในการลดการฟุ้งกระจายและการดูแลพื้นผิวและบริเวณแวดล้อม เพื่อทำการปรับปรุงเกี่ยวกับระบบการให้บริการทางทันตกรรมแบบ New normal และสามารถเปิดให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนได้ปกติและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและส่งเสริมบริการป้องกันโรคฟันผุให้เด็กนักเรียนอายุ 6 -12 ปี

ของเด็ก 6-12 ปี ได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนอายุ 6 - 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

เพื่อให้เด็กนักเรียนอายุ 6 - 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

100.00 50.00
3 เพื่อส่งเสริมการให้บริการงานทันตกรรมแบบ New normal

เพื่อส่งเสริมการให้บริการงานทันตกรรมแบบ New normal

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ซื้อชุดตรวจฟัน 5 เกลอ จำนวน 10 ชุด x 690 บาท  เป็นเงิน 6,900 บาท รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 6,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ซื้อชุดตรวจฟัน 5 เกลอ จำนวน 10 ชุด x 690 บาท  เป็นเงิน 6,900 บาท รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 6,900 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

กิจกรรมที่ 2 ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันให้แก่เด็กนักเรียน (6-12ปี) ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันให้แก่เด็กนักเรียน (6-12ปี) ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ซื้อแผ่นเช็ดฆ่าเชื้อ จำนวน 10 กระปุก x 600 บาท
    เป็นเงิน 6,000 บาท
  2. ซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อในช่องปาก Chlorhexidine 0.12%
    จำนวน 30 ขวด x 150 บาท  เป็นเงิน 4,500 บาท
  3. ซื้อแผ่นผ้าทำความสะอาด โดยไม่ต้องใช้น้ำ (จำนวน 100 ชิ้น/กล่อง)จำนวน 4 กล่อง x 1,000 บาท  เป็นเงิน 4,000 บาท
  4. ซื้ออุปกรณ์ RUBBER DAM KID จำนวน 1 ชุด
    เป็นเงิน 12,000 บาท
  5. ซื้อชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก ประกอบด้วยแปรงสีฟันและยาสีฟัน  จำนวน 400 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
  6. Air Water Syringe Tip 4 ห่อ x 660 บาท เป็นเงิน 2,640 บาท
  7. Dental Mouth Gag(สำหรับเด็ก) 2 ชิ้น x 1,200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  8. วัสดุในการเคลือบหลุมร่องฟันขอสนับสนุนจาก รพ.บันนังสตา รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน  43,540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันให้แก่เด็กนักเรียน (6-12ปี) ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ จำนวน 400 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43540.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ร้อยละ 100 ของเด็ก 6-12 ปี ได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก
2. ร้อยละของเด็ก 6-12 ปี ได้รับบริการทันตกรรม (คน) มีผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3. รพ.สต. สามารถให้บริการงานทันตกรรมแบบ New normal


>