กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย (01-32)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านกือลอง

ม. 2,9,6 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน โดยจังหวัดยะลาเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปีจึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข
อำเภอบันนังสตา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย มาเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดยะลา ซึ่งทุกพื้นที่ของอำเภอบันนังสตาจะมีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องสำหรับตำบล ตลิ่งชันเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลองในปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 9ราย คิดเป็นอัตราป่วย 596.84 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยไข้มาลาเรีย18คน สาเหตุจากยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค นอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่ยังไม่มีการควบคุมป้องกัน เช่น การนอนไม่กางมุ้ง เป็นต้นจึงทำให้โรคดังกล่าวมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่มอายุ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการควบคุมปัญหาดังกล่าว จึงมีการจัดทำโครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดที่อยู่อาศัยและส่วนราชการให้ถูกหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

ประชาชนและส่วนราชการมีส่วนร่วมในการจัดบ้าน สิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ

100.00 100.00
2 เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ร้อยละภาชนะที่พบลูกน้ำบริเวณบ้านที่อยู่อาศัยและส่วนราชการ

100.00 80.00
3 เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ A1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง

ร้อยละ 100 ของสถานที่ ได้รับการพ่น

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,437
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แจกทรายอะเบท  และโลชั่นทากันยุง 2..พ่นหมอกควันใน โรงเรียน,ศูนย์เด็กเล็ก, วัด ,มัสยิด            ในพื้นที่ 3.พ่นสารเคมีติดฝาผนัง                                               4.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง                              5..แจกจ่ายทรายอะเบท,โลชั่นทากันยุง 1.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน (UIV)   - น้ำมันดีเซล 240 ลิตรๆละ  21  บาท เป็นเงิน 5,040 บาท

- น้ำมันเบนซิน  120  ลิตรๆละ  23   บาท     เป็นเงิน 2,760  บาท 2.ค่าทรายอะเบท 2 ถัง ๆละ 3,500  บาท          เป็นเงิน  7,000  บาท 3. ค่าตอบแทนพ่นหมอกควัน/พ่นติดผนัง  จำนวน   6 คนๆละ 15  วัน  300 บาท    เป็นเงิน 27,000  บาท 4.ค่าโลชั่นทากันยุง  200 ขวดๆละ 35  บาท เป็นเงิน 7,000  บาท 5.ค่าสเปรย์ฉีดยุง    100  กระป๋อง ๆละ  74  บาท     เป็นเงิน  7,400  บาท รวมเงินกิจกรรมที่ 1   51,640  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จำนวน 1362 หลังคาเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51640.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก /ไข้มาลาเรียลดลง
2.ประชาชนมีการดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านเรือนอย่างถูกสุขลักษณะ


>