กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.หมูที่11)

1.นางรุ่งตะวัน สมัครกิจ ประธานกรรมการ
2.นางนีรเนตร ใสสุข รองประธาน
3.นางถนอม เมฆรัตน์ กรรมการ
4.นางสาว ขวัญคุม กรรมการ
5.นางมะยุรา ขันเพ็ชร กรรมการ
6.นางสาวน้อย มะโนภักดิ์ กรรมการ
7.นางสาวพรรณิภา ขำอ่อน กรรมการ
8.นางจันทร์วิพา เมฆรัตน์ กรรมการ
9.นางสาวเอมอรหะนุรัตน์ เลขานุการ

หมู่ที่ 11 บ้านท่า ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 50 คนในชุมชนมีปัญหาโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

60.00
2 ร้อยละ 50 คนในชุมชนไม่ดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้อง

 

60.00

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่น ๆ นั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคเท้าช้าง โรคสครับไทฟัส โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ ไข้มาลาเรีย เป็นต้น และในปีงบประมาณ 2564 หมู่ 11 บ้านท่า ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเท้าช้างจากศูนย์ควบคุมโรคโดยแมลง ศูนย์พิกุลทอง พบผู้ป่วยเท้าช้างรายใหม่จำนวน ๓ ราย และผู้มีภาวะเสี่ยงอีก 10 ราย ในขณะเดียวกันการระบาดของโรคก็เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว และด้วยบริบทพื้นที่อยู่ติดป่าพรุโต๊ะแดงทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย นับเป็นปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของคนของชุมชนอย่างมากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการควบคุม ป้องกัน การเกิดและการระบาดของโรค ให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมโดยคนในครัวเรือนชุมชน ได้มีส่วนร่วม ในการควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงในบ้านและบริเวณบ้านอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง สืบไป อีกทั้งยังนำไปสู่ความปลอดภัยจากเป็นโรคและการมีสุขภาพที่ดีต่อไป
ดังนั้น ชมรมอสม.หมู่ที่ 11 บ้านท่า รพ.สต.บ้านใหม่ตำบลสุไหงปาดีอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นปัญหาของโรคท่นำโดยแมลง จึงได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ในการควบคุมป้องกัน การเกิดโรคเท้าช้าง จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคเท้าช้างแก่ประชาชน ประจำปี 2564

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคและป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง ร้อยละ90

60.00 60.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ร้อยละ90

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 28/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ สถานการณ์การเกิดโรคความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกอาการการติดต่อ การดูแลเบื้องต้นผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และการป้องกันโรค ความรู้เรื่องยุงวงจรชีวิตของยุง -ค่าอาหารว่างในโครงการฯจำนวน 2 มื้อX 25 บาทx จำนวน 70 คนเป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ ๆละ 50 บาทจำนวน 70 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดโครงการ กระเป๋า 40 บาท, ปากกา5 บาท, สมุด 10 บาท (ชุดละ 55 บาท) จำนวน70 ชุด เป็นเงิน 3,850 บาท
-ค่าไวนิล ขนาด..1X2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในชุมชนป่วยด้วยโรคเท้าช้างมีจำนวนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13970.00

กิจกรรมที่ 2 ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในหมู่บ้าน โรงเรียน และวัด

ชื่อกิจกรรม
ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในหมู่บ้าน โรงเรียน และวัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าถุงดำ แพ็คละ 250 บาท จำนวน 2 แพ็ค เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าถุงมือยาง จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในหมู่บ้าน โรงเรียน และวัด และช่วยป้องกันและควบคุมโรคเกิดจากแมลง อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนป่วยด้วยโรคเท้าช้างมีจำนวนลดลง
2.ประชาชนในชุมชนร่วมป้องกันและควบคุมโรคเท้าช้างอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง


>