กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อยในโรงเรียนสู่ชุมชน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

โรงเรียนบ้านตาเซะเหนือ

โรงเรียนบ้านตาเซะเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 30 เด็กนักเรียนยังขาดความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร

 

40.00
2 ร้อยละ 30 เด็กนักเรียนยังขาดความรู้เรื่องการซื้ออาหารที่ถูกหลักอนามัย

 

40.00

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อน ผู้ปกครอง และชุมชนให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยในการบริโภคอย่างได้ผล การอุปโภคบริโภคเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราใช้ หรือว่ารับประทานเข้าไปจะมีความสะอาดปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้บริโภคควรมีความตระหนักและความรู้ไว้คุ้มครองตนเองให้ปลอดภัย
ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านตาเซะเหนือ จึงเห็นความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดโครงการ อย.น้อยในโรงเรียนสู่ชุมชน ปี 2564 ขึ้นมา เพื่อเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหารการตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่อง อาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน

นักเรียนมีความรู้ความข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่อง อาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน ร้อยละ 80

40.00 45.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร เรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สเตียรอยด์ และจุลินทรีย์ปนเปื้อนต่างๆ

นักเรียนสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร เรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สเตียรอยด์ และจุลินทรีย์ปนเปื้อนต่างๆ ร้อยละ 70

0.00 50.00
3 ส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

มีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของนักเรียน ในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน ร้อยละ 70

40.00 50.00
4 เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัว ด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย

นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัว ด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย ร้อยละ 70

20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 88
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/06/2021

กำหนดเสร็จ 24/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในชุมชน และเพิ่มทักษะผู้อุปโภคบริโภคอย่างชาญฉลาด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในชุมชน และเพิ่มทักษะผู้อุปโภคบริโภคอย่างชาญฉลาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากร 1 คน X 2 ชั่วโมง X 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าจัดทำไวนิล จำนวน 1 แผ่น X 720 บาท เป็นเงิน 720 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการอบรม จำนวน 88 ชุด X 30 บาท เป็นเงิน 2,640 บาท 4.ค่าไวนิลพร้อมขาตั้ง จำนวน 4 ชุด X 1,950 บาท เป็นเงิน 7,800 บาท 5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 88 คน X 25 บาท x 2 เป็นเงิน 4,400 บาท 6.ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ -ค่าปากกา ด้ามละ 5 บาท จำนวน 88 ด้าม เป็นเงิน 440 บาท -ค่าสมุด เล่มละ 10 บาท จำนวน 88 เล่ม เป็นเงิน 880 บาท 4.ค่ากระเป๋าสำหรับบรรจุเอกสารผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 88 ใบ X 40 บาท เป็นเงิน 3,520 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่อง อาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน 2.มีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของนักเรียน ครูพ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นในโรงเรียนและชุมชนในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

กิจกรรมที่ 2 ปฏิบัติการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบอาหารในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารด้วยชุดทดสอบอาหารในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอุปกรณ์พร้อมสารทดสอบอาการเป็นเงิน 5,000 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร วิทยากร 2 คน X 2 ชั่วโมง X 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ ครอบครัว และชุมชนด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย 2.นักเรียนและชุมชนสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร เรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สเตียรอยด์ และจุลินทรีย์ปนเปื้อนต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและชุมชนมีความรู้ความข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่อง อาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชน
2.นักเรียนและชุมชนสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร เรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สเตียรอยด์ และจุลินทรีย์ปนเปื้อนต่างๆ
3.มีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของนักเรียน ครูพ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นในโรงเรียนและชุมชนในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
4.เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อนๆ ครอบครัว และชุมชนด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย


>