กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ

นายอนิรุทธิ์ ราเหมตำแหน่ง ผอ.กองสวัสดิการสังคม

อบต.ทำนบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

13.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

5.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

10.00
4 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ

 

13.00
5 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

5.00

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 โดยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนฯ ในรูปแบบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชน สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนฯ สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพของคนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในปัจจุบัน
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนฯบรรลุวัตถุประสงค์ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ ขึ้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ และกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุนฯ ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานอื่น ๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้ง รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น และกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในโอกาสต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

10.00 20.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

5.00 6.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

13.00 20.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

13.00 20.00
5 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

5.00 6.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 24

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุนฯ,ที่ปรึกษาและคณะทำงานจำนวน24 คนๆละ 4 ครั้งๆละ400 บาท เป็นเงิน 6,400 บ. -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน24 คนๆละ 4 ครั้งๆละ25 บาท เป็นเงิน 6,400 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการมีการอนุมัติโครงการอย่างน้อย 20 โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมจำนวน 4 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมจำนวน 4 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการกองทุนฯและคณะทำงาน  จำนวน  10 คนๆละ 4 ครั้งๆละ  300 บาท                 เป็นเงิน 12,000 บ. -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน  20 คนๆละ 4 ครั้งๆละ  25 บาท                 เป็นเงิน 2,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการกลั่นกรองโครงการ อย่างน้อย 20 โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 1 ครั้ง
  2. งบประมาณ
    -ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการกองทุนฯและคณะทำงาน  จำนวน  10 คนๆละ 4 ครั้งๆละ  300 บาท                 เป็นเงิน 12,000 บ. -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน  20 คนๆละ 4 ครั้งๆละ  25 บาท                 เป็นเงิน 2,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามและประเมินผลโครงการ 20 โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,800.00 บาท

หมายเหตุ :
1.วิธีดำเนินการ
1.1)ขั้นเตรียมการ
1.1.1)จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการและงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนฯ
1.1.2)แจ้งคณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.2)ขั้นดำเนินการ
1.2.1)ดำเนินการตามกิจกรรม
1.2.1.1)กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯจำนวน 4 ครั้ง/ปี
1.2.1.2)กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรอง แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมกองทุนฯnจำนวน 4 ครั้ง / ปี
1.2.1.3)กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน /แผนงาน /โครงการ/กิจกรรม กองทุนฯ จำนวน 4 ครั้ง
1.2.1.4)กิจกรรมที่ 4 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
1.2.1.5)กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดซื้อครุภัณฑ์ที่จำเป็น , ประชาสัมพันธ์กองทุน , เข้าร่วมประชุม/อบรมที่เกี่ยวข้องกับงานกองทุนฯ
1.3)ขั้นสรุปผลและประเมินผล
1.3.1)สรุปและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ มีการใช้เงินสนับสนุนให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆที่ขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการด้านสุขภาพ
2.คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกองทุนฯ
3.การรายงานผลการดำเนินโครงการได้สำเร็จและทันเวลา


>