กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1.นางสาวศศิ รังษีสว่าง
2.นางสาวจุรีพร หนูบัว
3.นางบุญประสม นิลกาฬ
4.นางคอลีเยาะ มามุ

องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สัมผัสอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร

 

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร

ร้อยละผู้สัมผัสอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร

40.00 80.00

จากสถานการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมบริโภคของประชาชนจากการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ฉะนั้น ประชาชนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากการสัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างเตรียม - ปรุง - ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ การพัฒนางานด้านสาธารณสุข ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ เน้นการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นหลัก ให้ความสำคัญของการเป็นตำบลอาหารสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหาร ด้วยการพัฒนาร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร จากข้อมูลการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการด้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ประจำปีงบประมาณ 2561 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ พบว่า มีร้านจำหน่ายอาหารทั้งหมด 18 ร้าน แผงจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จในตลาดสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร คิดเป็นร้อยละ 44.44 ตามลำดับ ผลการตรวจเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหารด้านเคมี (สารเคมีปนเปื้อน 4 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน ฟอกขาว และสารกันรา) พบว่า ตัวอย่างที่นำมาทดสอบปราศจากการปนเปื้อนทั้งหมด (คิดเป็น 100%)สำหรับด้านชีวภาพ (เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ/อาหาร/มือ) จากการสุ่มจำนวน 1,329 ตัวอย่าง พบว่า ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 67 (890 ตัวอย่าง) และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 33 (439 ตัวอย่าง) นอกจากนี้ ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีสถานประกอบการที่ผ่านการอบรมเพียง จำนวน 250 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.24 ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้สัมผัสอาหารในกิจการด้านอาหารดังกล่าว เป็นบุคคลสำคัญในการจัดหา ประกอบ ปรุงอาหาร และให้บริการแก่ผู้บริโภค จำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารทุก ๆ 3 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภคได้ จึงต้องมีการอบรมเพิ่มความรู้อีกจำนวนมาก เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารจากร้านที่ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร และมีการพัฒนาร้านให้ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ฝ่ายส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตะหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการอบรมการสุขาภิบาลอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้สัมผัสอาหาร 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการฯ เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการฯ เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการฯ เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน คนละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2564 ถึง 29 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แผนงานในการดำเนินโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร เป้าหมาย สำหรับผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร เป้าหมาย สำหรับผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร

งบประมาณ

-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท 8 ชั่วโมง เป้นเงิน 9600 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน 50 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ 2500 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน 50 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท

-ค่าเอกสารประกอบการประชุม 40 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2000 บาท

-ค่าแฟ้มซองกระดุมใส่เอกสาร จำนวน 4 โหล โหลละ 240 บาท เป็นเงิน 960 บาท

-เกียรติบัตรผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 1 แพ็ค แพ็คละ 200 บาท

-แผ่นใส่เคลือบบัตร 1 กล่อง กล่องละ 250 บาท

-ปากกา 1 โหล โหลละ 150 บาท

-ซองใส่ป้ายชื่อ 1 แพ็ค แพ็คละ 300 บาท

-บัตรขาวพีวีซี 1 แพ็ค แพ็คละ 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 29 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18810.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง - ประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
2.ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงและยกระดับสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
3.ประชาชนทั่วไป (ผู้บริโภค) ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค และมีสุขภาพที่ดี


>